สะเดาดิน,ผักขี้ก๋วง
ชื่ออื่นๆ : ผักขี้ขวง (ภาคเหนือ, ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ) สะเดาดิน, ผักขวง (ภาคกลาง), ขี้ก๋วง
ต้นกำเนิด : –
ชื่อสามัญ : สะเดาดิน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Glinus oppositifolius (L.) A.DC.
ชื่อวงศ์ : Molluginaceae
ลักษณะของสะเดาดิน,ผักขี้ก๋วง
ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีลำต้นเตี้ยหรือทอดเลื้อยแตกแขนงแผ่ราบไปกับพื้นดิน แตกกิ่งก้านสาขาแผ่กระจายออกไปรอบ ๆ ต้น ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดดจ้า เจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด ทนแล้งได้ดี พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะทางภาคเหนือ โดยมักขึ้นได้ในบริเวณที่ชื้นแฉะ ตามไร่นา และตามสนามหญ้าทั่วไป
ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว ใบมีขนาดเล็ก แตกใบออกตามข้อต้น ซึ่งในแต่ละข้อจะมีใบอยู่ประมาณ 4-5 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปยาวรี ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 0.3-0.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียว ก้านใบสั้น
ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวรวมกันอยู่ตามข้อของลำต้นใกล้ ๆ กับใบ ในข้อหนึ่งจะมีดอกประมาณ 4-6 ดอก ดอกเป็นสีขาวอมเขียว มีกลีบดอก 5 กลีบ แต่ละกลีบมีขนาดยาวประมาณ 0.3 เซนติเมตร ส่วนก้านดอกยาวกว่ากลีบดอก โดยจะมีความยาวประมาณ 0.6-1.2 เซนติเมตร
ผล ผลเป็นรูปยาวรี มีขนาดยาวประมาณ 0.2 เซนติเมตร เมื่อผลแก่จะแตกออกเป็น 3 แฉก ทำให้เห็นเมล็ดที่อยู่ภายในผลได้ชัดเจน เมล็ดมีจำนวนมาก สีน้ำตาลแดง มีขนาดเท่ากับเม็ดทราย
การขยายพันธุ์ของสะเดาดิน,ผักขี้ก๋วง
ใช้เมล็ด/พบขึ้นบริเวณชื้นแฉะ ในไร่นา และตามสนามหญ้าโดยทั่วไป ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่สะเดาดิน,ผักขี้ก๋วงต้องการ
–
ประโยชน์ของสะเดาดิน,ผักขี้ก๋วง
ผักขวงเป็นผักที่มีรสขมคล้ายสะเดา บางแห่งจึงเรียกผักชนิดนี้ว่า “สะเดาดิน” โดยชาวบ้านตามชนบทจะใช้ผักขวงเป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริกและรับประทานร่วมกับลาบ บ้างนำมาลวกจิ้มกับน้ำพริกหรือนำมาแกงรวมกับผักอื่น ๆ แกงแค แกงเมือง หรือแกงกับปลาทูนึ่งรับประทาน
สรรพคุณทางยาของสะเดาดิน,ผักขี้ก๋วง
- ในประเทศอินเดียจะใช้ผักขวงเป็นยาบำรุงธาตุ (ทั้งต้น)
- ต้นสดนำมาตำผสมกับขิงใช้เป็นยาสุมกระหม่อมเด็ก จะช่วยแก้อาการปวดศีรษะ แก้หวัดคัดจมูก (ทั้งต้น)
- ผักขวงทั้งต้นมีรสขมเย็น ใช้ปรุงเป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้ทั้งปวง (ทั้งต้น)
- ทั้งต้นใช้เป็นยาแก้หวัด แก้ไอ (ทั้งต้น)
- ใช้เป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ ระงับความร้อน (ทั้งต้น)
- ทั้งต้นใช้ผสมกับน้ำมันละหุ่ง แล้วนำไปอุ่นใช้เป็นยาหยอดหูแก้อาการปวดหู (ทั้งต้น)
- ในประเทศอินเดียจะใช้ผักขวงทั้งต้นปรุงเป็นยาระบาย (ทั้งต้น)
- ผักขวงมีสรรพคุณช่วยบำรุงน้ำดี (ทั้งต้น)
- ทั้งต้นใช้เป็นยาแก้คัน เป็นยาทาแก้โรคผิวหนัง หรือเป็นยาฆ่าเชื้อ (ทั้งต้น)
- ใช้เป็นยาทาแก้อาการฟกช้ำบวมอักเสบ (ทั้งต้น)
- ผักขวงจัดอยู่ในพระคัมภีร์ธาตุวิวรณ์ ซึ่งเป็นตำรับยาแก้ไข้เพื่อดี (ไข้ที่เกิดจากดีพิการ มีอาการปวดศีรษะ ไข้สูง) อันประกอบไปด้วยตัวยา 7 สิ่ง ได้แก่ ผักขวง, เครือเขาด้วย, รากขี้กา,
- ทั้งต้นปรุงเป็นยาแก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ถ้านำต้นสดมาผสมกับน้ำมันละหุ่งแล้วนำไปอุ่นจะใช้เป็นยาหยอดหูหรือแก้ปวดหูได้ หรือถ้านำต้นสดมาตำผสมกับขิงจะได้เป็นยาสุมกระหม่อมเด็ก แก้อาการปวดศีรษะ แก้หวัด แก้ไอได้
คุณค่าทางโภชนาการของสะเดาดิน,ผักขี้ก๋วง
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน 142.3512 kJ (34.0228 kcal)
คาร์โบไฮเดรต 4.4 g
ใยอาหาร 1.1 g
ไขมัน 0.4 g
โปรตีน 3.2 g
วิตามิน
บีตา-แคโรทีน 2431 มก.
ไทอามีน (บี 1) 0.03 มก.
ไรโบเฟลวิน (บี 2) 0.45 มก.
ไนอาซีน (บี 3) 2.7 มก.
วิตามินซี 19 มก.
แร่ธาตุ
แคลเซียม 94 มก.
เหล็ก 1.8 มก.
ฟอสฟอรัส 4 มก.
องค์ประกอบอื่น
น้ำ 90.3 g
การแปรรูปของสะเดาดิน,ผักขี้ก๋วง
นำผักขวงมาทำแกงแบบคนเหนือซึ่งให้รสชาติขมอร่อย โดยใส่มะเขือและปลาแห้ง (กินตอนร้อน ๆ เพราะถ้าหากเย็นแกงจะมีรสขม) หรือนำมาผัด
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12172&SystemType=BEDO
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%82%E0%B8%A7%E0%B8%87
https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1604&code_db=610010&code_type=01
https://www.flickr.com