สะเดาบ้าน ดอกและยอดนำมารับประทาน เนื้อไม้นำไปก่อสร้างบ้านเรือน

สะเดาบ้าน

ชื่ออื่นๆ : สะเดาอินเดีย (กรุงเทพมหานคร) สะเลียม (ภาคเหนือ)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Holy tree.

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss.

ชื่อวงศ์ : MELIACEAE

ลักษณะของสะเดาบ้าน

ต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลางผลัดใบ สูงประมาณ 8-15 เมตร เส้นรอบวงของต้น 80-200 ซม. เรือนยอดเป็นพุ่มกลมหรือคล้ายเจดีย์ต่ำแตกกิ่งก้านสาขา เปลือกของลำต้นสีน้ำตาลเทาหรือเทาปนดำ แตกระแหงเป็นร่องเล็กๆ หรือเป็นสะเก็ดเป็นร่องยาวตามต้น แต่เปลือกของกิ่งอ่อนเรียบ ยอดอ่อนที่แตกใหม่มีสีน้ำตาลแดง

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ใบย่อยฐานใบไม่เท่ากัน รูปใบหอกปลายสอบ ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย กว้าง 3-4 ซม. ยาว 4-7 ซม. สะเดาจะผลิใบใหม่พร้อมกับผลิดอก

ดอก ออกเป็นช่อตามกิ่งพร้อมใบอ่อน ดอกมีขนาดเล็กกลีบดอกสีขาวมี 5 กลีบ

ผล รูปกลมรีอวบน้ำ เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 ซม. ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่ผลสีเหลือง ผลมีเมล็ดเดียว แข็ง ส่วนที่ใช้บริโภค ยอดอ่อน ใบอ่อน ดอกอ่อน

ต้นสะเดาบ้าน
ต้นสะเดาบ้าน เปลือกของลำต้นสีน้ำตาลเทาหรือเทาปนดำ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม
ดอกสะเดาบ้าน
ดอกสะเดาบ้าน ดอกสีขาว มีขนาดเล็ก

การขยายพันธุ์ของสะเดาบ้าน

ใช้เมล็ด/ใช้วิธีเพาะเมล็ด

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้งที่ระดับความสูง 50-300 เมตร ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ ฤดูหนาว ช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์

ซึ่งสามารถทำได้จำนวนมาก เพราะปริมาณของ ผลสะเดามีมากในทุก ๆ ปี แต่ไม่สามารถเก็บเมล็ดไว้ได้นาน เพราะเมล็ดจะสูญเสียเปอร์เซ็นต์ความงอกงามได้เร็วมาก หลังจาก เก็บผล สุกมาและเอาเนื้อออกหมดแล้วล้างเมล็ดให้สะอาด นำไปเพาะทันที จะงอก ได้ดีมาก เมื่อสะเดาเจริญเติบโตจะติดผลเมื่ออายุ 5 ปีขึ้นไป และให้ผลผลิต เต็มที่เมื่ออายุ 10 ปีขึ้นไปปริมาณของผลสะเดาจะอยู่ระหว่าง 10-50 กก./ต้น/ ปี

ธาตุอาหารหลักที่สะเดาบ้านต้องการ

ประโยชน์ของสะเดาบ้าน

  1. เนื้อไม้ เหมาะสำหรับนำไปก่อสร้างบ้านเรือน ทำเสา เข็ม และ เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ รวมทั้งเป็นเชื้อเพลิงคุณภาพดี
  2.  เป็นอาหารและพืชสมุนไพร เช่น ในดอก และยอดอ่อน ใช้เป็นอาหาร และยาเจริญอาหาร ดอกแก้พิษเลือดกำเดา บำรุงธาตุ ผลแก้โรคหัวใจ ยางดับพิษร้อน เปลือกแก้ไข้มาลาเรีย และเป็นยาสมานแผล ผลอ่อนใช้ถ่ายพยาธิ เมล็ดใช้รักษาโรคเบาหวาน
  3. เป็นสารป้องกันและกำจัดแมลง สะเดามีสารชนิดหนึ่งชื่อ กะซ้าหอยแรคติหน สามารถนำมาสกัด เป็นสารป้องกันกำจัดแมลงได้ พบมากที่สุดในส่วนของเมล็ด
  4. ปลูกเพื่อเป็นแนวกันลมและให้ร่ม เนื่องจากมีใบหนาทึบ รากลึก ทนแล้ง ทนดินเค็ม และผลัดใบในเวลาสั้น
  5.  อื่นๆ เช่น น้ำมันจากเมล็ดสะเดาใช้ทำเชื้อเพลิงจุดตะเกียง เปลือกมีสารแทนนิน ใช้ในอุตสาหะกรรมฟอกหนัง กากสะเดาใช้เป็นปุ๋ย ผสมเป็นอาหารสัตว์ เป็นต้น
ผลสะเดาบ้าน
ผลสะเดาบ้าน ผลอ่อนสีเขียว กลมรีอวบน้ำ

สรรพคุณทางยาของสะเดาบ้าน

  • ราก แก้ลม เสมหะที่แน่นในอก จุกคอ
  • ใบ เป็นยาพอกฝี เป็นยาฆ่าแมลง
  • ดอก เป็นยาช่วยเจริญอาหาร และช่วยย่อยอาหาร แก้พิษ เลือดกำเดา บำรุงธาตุ
  • ผล แก้โรคหัวใจผลอ่อน ใช้ถ่ายพยาธิ แก้ริดสีดวง และปัสสาวะพิการ

คุณค่าทางโภชนาการของสะเดาบ้าน

การแปรรูปของสะเดาบ้าน

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9600&SystemType=BEDO

mainpage


https://www.flickr.com

Add a Comment