กล้วยหักมุกพม่า
ชื่ออื่นๆ : กล้วยเมาะมานิ, Saxy Banana
ต้นกำเนิด : ประเทศเมียนมาร์
ชื่อสามัญ : Kluai Hak Muk Phama
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa (ABB) ‘Hak Muk Phama’
ชื่อวงศ์ : MUSACEAE
ลักษณะของกล้วยหักมุกพม่า
ต้น ลำต้นเทียมมีความสูง 3.5-4.0 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นเทียมมากกว่า 15 เซนติเมตร สีของกาบลำต้นด้านนอกสีเขียวอมเหลือง ไม่มีปื้นดำ มีไขมาก กาบลำต้นด้านในสีเหลืองซีดและมีปื้นแดง
ใบ ก้านใบค่อนข้างปิดมีสีเขียวอ่อน มีครีบเล็กน้อย ก้านใบมีไขมาก
ดอกหรือปลีก้านช่อดอกสีแดงไม่มีขน ลักษณะของใบประดับรูปไข่ค่อนข้างยาว ด้านนอกสีม่วงอมเทา มีไข ด้านในสีแดงอมส้มสม่ำเสมอ ปลายใบประดับค่อนข้างมน มีสีเหลือง ใบประดับม้วน การเรียงของใบประดับซ้อนกันลึก มีก้านช่อดอกค่อนข้างยาว
ผล ผลมีขนาดปานกลางทรงกระบอก มีเหลี่ยมและจุกผลชัดเจน การเรียงของผลเป็นระเบียบ จำนวนหวีต่อเครือประมาณ 5-8 หวี หวีหนึ่งมีประมาณ 12-15 ผล ผลดิบมีสีเขียวคล้ายกล้วยหักมุกนวล ผลเมื่อสุกมีสีเหลืองนวล ผิวแตกลายงา เนื้อผลสีเหลืองอมส้ม รสชาติหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย
การขยายพันธุ์ของกล้วยหักมุกพม่า
การแยกหน่อ
การปลูก ขุดหลุมขนาด 30x30x30 เซนติเมตร วางหน่อลงปลูกกลางหลุม กลบดินโดยรอบให้แน่น หลังปลูก 1 เดือนให้ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 จากนั้นให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 สลับกับปุ๋ยอินทรีย์ทุก 3 เดือน
ธาตุอาหารหลักที่กล้วยหักมุกพม่าต้องการ
ประโยชน์ของกล้วยหักมุกพม่า
ผลสุกรับประทานเป็นผลไม้
สรรพคุณทางยาของกล้วยหักมุกพม่า
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ *สรรพคุณของกล้วย*
คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยหักมุกพม่า
การแปรรูปของกล้วยหักมุกพม่า
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับเรื่องกล้วย การปลูกกล้วย พันธุ์กล้วย เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : รวบรวมสายพันธุ์กล้วย, www.rpplant.royalparkrajapruek.org
กล้วยหักมุกพม่า สายพันธุ์กล้วย การขยายพันธุ์กล้วยหักมุกพม่า