สาวน้อยประแป้ง นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ- ยางเป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์

สาวน้อยประแป้ง

ชื่ออื่นๆ : ช้างเผือก, ว่านพญาค่าง, ว่านหมื่นปี, อ้ายใบก้านขาว

ต้นกำเนิด : อเมริกากลางและอเมริกาใต้

ชื่อสามัญ :  Dumb Cane

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dieffenbachia Exotica

ชื่อวงศ์ : ARACEAE

ลักษณะของสาวน้อยประแป้ง

ต้น : เป็นพืชใบเลี้ยง เดี่ยวมีลักษณะคล้ายพืชในตระกูลเขียวหมื่นปี แต่ใหญ่กว่าไม้เนื้ออ่อนกลม ตั้งตรงแข็งแรง มีข้อถี่

ใบ : มีรูปร่างยาวเรียวคล้ายใบพาย โคน ใบมน ปลายใบเรียวแหลม พื้นใบมีสีเขียวอ่อน ถึงเขียวเข้ม ด่างสีขาว ครีม หรือเหลือง หรือมีจุดแต้มบนพื้นใบ

ดอก : มีลักษณะคล้ายดอกหน้าวัว มีสีเขียว อ่อน มีกาบอยู่เพียงกาบเดียวหุ้มแท่งเกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมีย เกสรตัวผู้อยู่ส่วนบน และเกสรตัวเมียอยู่ส่วนล่าง

สาวน้อยประแป้ง
สาวน้อยประแป้ง มีรูปร่างยาวเรียวพื้นใบมีสีเขียวอ่อนถึงเข้ม ด่างสีขาว

การขยายพันธุ์ของสาวน้อยประแป้ง

การตัดลำต้นชำ โดยตัดต่ำกว่ายอดลงมาประมาณ 1 ฟุต

ปลูกได้ดีในดินร่วนซุย ส่วนผสมของดินใช้ ดินร่วน ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก เศษใบไม้ผุ ทรายหยาบ ในอัตราส่วนเท่าๆ กัน

ธาตุอาหารหลักที่สาวน้อยประแป้งต้องการ

ควรปลูกในที่ร่มรำไร ไม่ควรให้ถูกแสงแดดโดยตรง ไม่ควรรดน้ำมากเกินไปจนแฉะ เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อรา หมั่นเช็ดใบด้วยผ้าชุบน้ำพอหมาดจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกละลายน้ำรดเดือนละ 1–2 ครั้ง

ประโยชน์ของสาวน้อยประแป้ง

  • นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับทั้งภายนอกและภายในอาคาร เป็นพันธุ์ไม้ที่เจริญเติบโตได้ดีในที่ร่ม ชอบอากาศอบอุ่นและความชื้นสูง แต่ก็สามารถปรับตัวเจริญเติบโตได้ดีในห้องที่มีความเย็นและสภาพอาการแห้งแล้ง จึงเป็นพืชที่ปลูกและดูแลง่าย คุณสมบัติของสาวน้อยประแป้งที่มีใบขนาดใหญ่ จึงทำให้เป็นไม้ประดับที่ดูดสารพิษภายในห้องได้เป็นอย่างดี
  • สาวน้อยประแป้งนอกจากจะปลูกเพื่อประดับต้น และใบแล้ว ผู้ที่นิยมปลูกยังมีความเชื่อว่า เป็นพรรณไม้ที่คอยให้โชคลาภ ช่วยคุ้มครองภัย และช่วยให้ผู้ปลูกมีอายุยืนยาว
  • น้ำยางจากลำต้น ใบ และดอก ใช้เป็นยาพิษเบื่อสัตว์ แต่พึงระวัง หากคนกินอาจทำให้เสียชีวิตได้

สรรพคุณทางยาของสาวน้อยประแป้ง

ดอกของสาวน้อยประแป้งบางชนิดมีกลิ่นเหม็นมาก ยางของสาวน้อยประแป้งเป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ ถ้าถูกผิวหนังจะทำให้คันมาก ถ้าเข้าปากจะทำให้ลิ้นบวมและขากรรไกรแข็ง หากกินเข้าไปอาจทำให้ตายได้

ในสาวน้อยประแป้ง มีผลึกแคลเซียมออกซาเลท (calcium oxalate)  ซึ่งเป็นผลึกรูปเข็มนี้จะทิ่ม แทงผิวหนังทำให้เกิดการระคายเคืองทางเดินอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปากและลำคอเมื่อรับประทานต้นสาวน้อยประแป้งเข้าไปจะรู้สึกเจ็บปวดร้อนที่ลิ้น และในเยื่อบุช่องปาก ข้อสำคัญคือสารนี้รวมตัวได้ดีกับแคลเซียม ทำให้เกิดภาวะ แคลเซียม ในเลือดต่ำซึ่งมีผลต่อการทำงานของหัวใจ กล้ามเนื้อลาย ระบบประสาทส่วนกลาง การสัมผัสถูกยาง ทำให้เกิด อาการบวมแดงได้และนอกจากนี้ยังมีสารจำพวกโปรตีน (protoanemomine) ทำให้ปากลิ้นและคอบวม พองเป็นตุ่มใส

การออกฤทธิ์ : ระคายเคืองต่อผิวหนัง

ส่วนที่เป็นพิษ : น้ำยางใส

สารพิษ : Calcium Oxalate

อาการ : คัน ปวดแสบปวดร้อน อักเสบบวม พองเป็นตุ่มน้ำใส ถ้าโดนตาทำให้ตาอักเสบ อาจทำให้ตาบอดชั่วคราวหรือถาวร

วิธีการรักษา :

  1. ล้างด้วยน้ำสบู่
  2. ทาด้วยครีมสเตียรอยด์
  3. รับประทานยาแก้แพ้ เช่น คลอเฟนนิรามีน ครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง
  4. ถ้ายางเข้าตาล้างตาด้วยน้ำหลายๆ ครั้ง หยอดตาด้วยยาหยอดตาที่มีสเตียรอยด์ แล้วนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว

คุณค่าทางโภชนาการของสาวน้อยประแป้ง

การแปรรูปของสาวน้อยประแป้ง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9531&SystemType=BEDO
https://medplant.mahidol.ac.th
https://www.flickr.com

Add a Comment