สาเหตุที่กล้วยเสียหายระหว่างการปลูก

การผลิตกล้วย

โดยทั่วไป การผลิตกล้วยจะมีหลายขั้นตอน คือ การเตรียมพื้นที่ การเลือกหน่อ การให้ปุ๋ย การให้น้ำ การกำจัดโรคแมลง การค้ำต้น ซึ่งการจัดการในขั้นตอนเหล่านี้ จะมีผลต่อปริมาณผลผลิต ส่วนขั้นตอนการห่อเครือ การเก็บเกี่ยวและการจัดการ หลังการเก็บเกี่ยว เช่น อายุเก็บเกี่ยว วิธีการเก็บเกี่ยว การคัดผล การทำความสะอาด การบรรจุ การเก็บรักษา จะมีผลต่อคุณภาพของผลผลิต บทนี้จะกล่าวถึงขั้นตอนที่ทำให้ เกิดการสูญเสียมาก เพื่อใช้เป็นแนวทางในการหาวิธีการจัดการที่เหมาะสม เพื่อลด การสูญเสียทั้งด้านปริมาณและคุณภาพต่อไป

ความเสียหายของผลผลิตกล้วยที่ระยะต่างๆ

ในการผลิตกล้วยมีหลายขั้นตอน ตั้งแต่การปลูกถึงการส่งผลิตผลไปยังผู้บริโภค พบว่าทุกขั้นตอนจะเกิดการสูญเสียได้ จากการสำรวจและวัดปริมาณการสูญเสีย ในการเก็บเกี่ยว พบว่า การสูญเสียด้านคุณภาพของกล้วยหอมที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการปลูก คิดเป็น 47 เปอร์เซ็นต์ อาจเนื่องมาจากการจัดการที่ไม่เหมาะสมในการปลูก ที่ให้ ได้ผลที่ไม่ได้ขนาด หรือผลมีขนาดใหญ่หรือเล็กเกินกว่ามาตรฐานที่กำหนด ผลมีรอยตำหนิ จากโรคหรือแมลง ทั้งยังพบว่า การสูญเสียจากการเก็บเกี่ยว ประมาณ 1.30 เปอร์เซ็นต์ ขั้นตอนหลังเก็บเกี่ยว ประมาณ 10.16 เปอร์เซ็นต์ ขั้นตอนการเก็บรักษา คิดเป็น 3.19 เปอร์เซ็นต์  เห็นได้ว่าความเสียหายเกิดในขั้นตอนหลังเก็บเกี่ยว ค่อนข้างสูง อาจเป็นเพราะขั้นตอนหลังการเก็บเกี่ยวเป็นขั้นตอน การปฏิบัติงานที่ทำให้ เกิดการกระแทกง่าย มีผลที่ให้ผลช้ำจากการขนย้าย หรือการโยนผลิตผล รอยมีดจากการตัดแต่ง ซึ่งพบว่ามีปริมาณการสูญเสียสูง

เปอร์เซ็นต์การสูญเสีย
อัตราเปอร์เซ็นต์การสูญเสียคุณภาพของกล้วยหอม

เช่นเดียวกัน ในการผลิตกล้วยไข่เพื่อการส่งออกไปสาธารณรัฐประชาชนจีน ของเกษตรกรจังหวัดจันทบุรี ในแต่ละขั้นตอนหลังการเก็บเกี่ยว พบการสูญเสียใน ปริมาณสูง ในขั้นตอนการเก็บเกี่ยวการสูญเสียมีปริมาณสูงถึง 43.30 เปอร์เซ็นต์ การจัดการ ในขั้นตอนการขนส่ง การเก็บรักษาเพื่อการส่งออก การสูญเสียสูงถึง 47.39 เปอร์เซ็นต์ และในการวางจำหน่าย การสูญเสียสูงถึง 64.19 เปอร์เซ็นต์

การสูญเสียกล้วยหอม
การสูญเสียกล้วยหอมในขั้นตอนของการเก็บเกี่ยว หลังเก็บเกี่ยว รวมถึงการจัดจำหน่าย

สาเหตุและการแก้ไข

ลักษณะที่กล้วยไม่ผ่านมาตรฐาน เกิดจากสาเหตุอะไร ก็สามารถหาแนวทาง การแก้ปัญหาและสามารถลดการสูญเสียได้ แสดงถึงลักษณะของกล้วยที่ไม่ผ่านมาตรฐาน สาเหตุและวิธีการแก้ไข ได้ดังนี้

  1. ขนาดผลไม่สม่ำเสมอ
    สาเหตุ  ความไม่อุดมสมบูรณ์ ของอาหาร ทำให้ ไม่เพียงพอต่อการ เจริญเติบโตของผล
    วิธีการแก้ไข การจัดการในแปลงปลูก เช่น
    – ปรับปรุงดินก่อนปลูกให้ เหมาะสมกับการปลูกกล้วย
    – การให้ปุ๋ยให้เหมาะสมกับ ระยะการเจริญเติบโต
    – การให้น้ำ
    – การตัดหวีที่ไม่สมบูรณ์ เช่น หวีตีนเต่าออก

    ขนาดผลไม่สม่ำเสมอ
    ขนาดผลไม่สม่ำเสมอ เกิดจากความไม่สมบูรณ์ของอาหาร
  2. หวีตีนเต่า ที่มีผลไม่สมบูรณ์
    สาเหตุ  จำนวนหวีในเครือ มากเกินไป ทำให้ ปริมาณอาหาร ภายในต้นไม่เพียงพอ ต่อการเจริญเติบโตผล
    วิธีการแก้ไข ควรตัดหวีตีนเต่าออก เมื่อเห็นว่าหวีตีนเต่า ไม่สมบูรณ์ เพื่อให้หวีอื่นสมบูรณ์
  3. หวีขนาดเล็กกว่ามาตรฐาน
    สาเหตุ  ความไม่สมบูรณ์ของ ดินและหน่อพันธุ์อ่อน หรือแก่เกินไป ทำให้ ความสมบูรณ์ของต้น ลดลง ส่งผลให้หวีกล้วย มีขนาดเล็กและจำนวนหวีลดลง
    วิธีการแก้ไข การจัดการในแปลงปลูก เช่น การให้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน การให้น้ำที่เหมาะสม การตัดหวีที่ไม่สมบูรณ์ เช่น หวีตีนเต่าออก
  4. ผลขนาดใหญ่ หรือมีความสุกแก่ เกินกำหนด
    สาเหตุ เกิดจากมีความอุดม สมบูรณ์มากเกินไป อายุผลสุกแก่ไม่เหมาะสม เช่น เก็บเกี่ยวที่อายุเกินกำหนด
    วิธีการแก้ไข
    – การจัดการในแปลงปลูก ที่เหมาะสม เช่น การให้ปุ๋ย ตามค่าวิเคราะห์ดิน การให้น้ำที่เหมาะสม
    – เก็บเกี่ยวที่อายุสุกแก่ ที่กำหนด โดยการทำสัญลักษณ์ เช่น การผูกเชือกสีต่างกัน เมื่อวันตัดปลีต่างกัน
  5. เน่าที่ปลายผล
    สาเหตุ  ปลายผลจะเกิดแผล แล้วเชื้อราเข้าทำลาย เช่น เกิดแผลจากการ เด็ดเกสรออก
    วิธีการแก้ไข
    – การจัดการในแปลงปลูก ที่เหมาะสม
    – ระวังไม่ให้เกิดแผลที่ ปลายผล เช่น ไม่ควรเด็ด เกสร
    – ควรพ่นสารเคมีป้องกัน ในระยะที่กล้วยออกจาก ปลีแล้ว 10 วัน
  6. บาดแผลที่มีเชื้อราเข้าทำลาย
    สาเหตุ เพราะผลเบียดกัน หรือเป็นผลแฝด เมื่อมีความชื้นสูง ทำให้ผลเจริญอย่าง รวดเร็วแตก หรือ เบียดกันจนเป็นแผล มีเชื้อราเข้าทำลาย
    วิธีการแก้ไข การจัดการในแปลงปลูก โดยคั่นไม่ให้ผลเบียดกัน ป้องกันไม่ให้ผลเป็นแผล
  7. รอยตำหนิที่เกิดจากแมลง
    สาเหตุ แมลงเข้าทำลายใน แปลง ทำให้ผลลาย
    วิธีการแก้ไข
    – การจัดการที่เหมาะสม ตั้งแต่ในแปลง โดย พ่นสารเคมีที่ระยะก่อน ออกเครือ หรือตอนที่ ใบธงออกมา และก่อน การตัดปลีกล้วย เพื่อ ป้องกันไม่ให้แมลงเข้าไป ซ่อนอยู่ภายในเครือ
    – ห่อเครือตั้งแต่ออกปลี หรือเมื่อผลกล้วยเริ่มงองุ้ม

    รอยตำหนิที่เกิดจากแมลง
    รอยตำหนิที่เกิดจากแมลง ทำให้ผลกล้วยลาย
  8. เพลี้ยแป้งและเพลี้ยหอยติดที่ ผลและในหวี
    สาเหตุ เพลี้ยแป้งและเพลี้ยหอย จะเข้าทำลายตั้งแต่ในแปลง
    วิธีการแก้ไข การจัดการที่เหมาะสมตั้งแต่ ในแปลง โดย พ่นสารเคมีก่อนห่อเครือ
  9. รอยช้ำที่ขั้วทำให้เกิดรอยเน่าดำ
    สาเหตุ เกิดจากการกระแทก เมื่อเป็นแผลมีเชื้อราเข้าทำลาย
    วิธีการแก้ไข การปฏิบัติหลังเก็บเกี่ยว ที่เหมาะสม โดยการป้องกัน การกระแทกที่ทำให้ช้ำ
  10. รอยตำหนิที่ผิว
    สาเหตุ เกิดจากการเสียดสี ของผลกับใบกล้วย ไม้ค้ำ หรือการปฏิบัติหลัง เก็บเกี่ยวที่ไม่ระมัดระวัง ระหว่างผลในเครือ หรือ กับวัสดุที่ใช้ห่อเครือที่มี ความแข็งกระด้าง
    วิธีการแก้ไข  แก้โดยการห่อเครือโดยใช้ พลาสติกให้โป่งไม่สัมผัสผล หรือใช้ถุงห่อที่มีความลื่น นิ่ม ไม่ส่งผลเสียต่อผิวกล้วย แม้สัมผัสโดนผิวกล้วย
    – ใช้แผ่นโฟมวางคั่น ระหว่างหวี
    – ใช้แผ่นโฟมกันกระแทก ห่อหุ้มเครือกล้วยขณะ ขนส่ง

    รอยตำหนิที่ผิว
    รอยตำหนิที่ผิวกล้วย เกิดจากการเสียดสีของผลกับใบกล้วย
  11. ผลแตก
    สาเหตุ  ผลเจริญเร็วเกินไป ทำให้ผลแตก หรือ การให้น้ำมาก
    วิธีการแก้ไข  การจัดการในแปลงปลูก เช่น การให้น้ำพอเหมาะ ไม่มากเกินไป
  12. บาดแผลเกิดจากมีด
    สาเหตุ  เป็นบาดแผลที่เกิดจาก ที่มีดตัดในระหว่าง ชำแหละเครือให้เป็นหวี หรือระหว่างการตัดแต่งผล
    วิธีการแก้ไข  ระมัดระวังในการปฏิบัติ ในโรงคัดบรรจุ
  13. รอยยางเปื้อนที่ผล
    สาเหตุ  การปฏิบัติในโรงคัด บรรจุไม่เหมาะสม
    วิธีการแก้ไข  มีการจัดการในโรงคัดบรรจุ อย่างเหมาะสม ต้องมีวิธีการล้างยางให้หมด
  14. การสุกไม่สม่ำเสมอ
    สาเหตุ เนื่องจากเก็บเกี่ยวกล้วย ที่มีอายุสุกแก่ไม่เท่ากัน
    วิธีการแก้ไข  จดบันทึกวันออกดอก เก็บเกี่ยวกล้วยที่อายุสุกแก่ ที่ต้องการ ไม่มีการปน ด้วยกล้วยที่อ่อนเกินไป
  15. เชื้อราที่ติดอยู่กับเกสรที่ผล
    สาเหตุ  เป็นเพราะอากาศชื้น ทำให้เกิดเชื้อราที่เกสร
    วิธีการแก้ไข  การจัดการในแปลงที่เหมาะ สม โดยการเอาเกสรออก แล้วห่อเครือ หรือทำให้ อากาศแห้งโดยตัดใบแก่ ออกบ้างเพื่อให้แสงแดด ส่องถึง เพื่อให้อากาศแห้ง หรือใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา

    เชื้อราที่ติดอยู่กับเกสร
    เชื้อราที่ติดอยู่กับเกสร
  16. เน่าที่ขั้วผลเมื่อสุก
    สาเหตุ การเข้าทำลายของ เชื้อราที่ขั้วผล
    วิธีการแก้ไข การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว ที่เหมาะสม โดยตัดแต่งผล ด้วยมีดที่สะอาด และไม่ให้ เกิดการช้ำ หรือบาดแผล หรือแช่ด้วยสารเคมีกำจัด เชื้อราที่ปลอดภัย ไม่ให้ มีการเข้าทำลายของเชื้อราหลังตัดแต่ง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :

www.flickr.com

Add a Comment