สีเสียดน้ำ เปลือกต้นฤทธิ์ต้านไวรัสที่ทำให้เกิดโรคเริมอย่างอ่อน

สีเสียดน้ำ

ชื่ออื่นๆ : แพงพวยบก, สีเสียดน้ำ (ภาคกลาง)

ต้นกำเนิด : พืชชนิดนี้พบตามป่าไม่ผลัดใบที่ระดับความสูง 150 เมตรจากระดับน้ำทะเล แหล่งที่พบได้แก่ประเทศพม่า กัมพูชา ลาวเวียดนาม และไทย ในไทยพบที่จังหวัดมหาสารคามและจังหวัดสระบุรี

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mallotus plicatus

ชื่อวงศ์ :Euphorbiaceae

ลักษณะของสีเสียดน้ำ

ต้น เป็นไม้ยืนต้นหรือไม้พุ่ม ลำต้นมีความสูง 15 เมตร ตามลำต้นมีต่อมน้ำมันสีแดงและขนรูปดาวขึ้นกระจายไปทั่ว

ใบ  ใบเดี่ยว เรียงตรงกันข้ามหรือเรียงสลับ มีหูใบ ใบมีรูปร่างเรียวยาว ฐานใบและปลายใบโค้งมน ใบมีความกว้าง 2.5-8.5 ซม. ยาว 5.5-16 ซม. ก้านใบยาว 1.2-4 ซม. ขอบใบหยัก

ดอก ดอกออกเป็นช่อรวมกัน 1-3 ช่อดอก พบที่ปลายกิ่งและที่ยอด แต่ละช่อดอกมีใบประดับหุ้ม ใบประดับมีความกว้าง 0.8-1.2 มม. ยาว 1.2-1.8 มม. ดอกออกเป็นช่อ แยกเพศ ช่อดอกประกอบด้วยดอกย่อย 3-7 ดอก ดอกเพศผู้มีก้านชูดอกยาว 2.5 มม. ประกอบด้วยกลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 3-4 กลีบ กลีบดอกมีสีเหลืองและสีแดง มีเกสรตัวผู้ 20-25 อัน ก้านชูเกสรตัวผู้มีความยาว 0.5-1.5 มม. เกสรตัวผู้มีความยาว 0.3-0.5 มม. ดอกเพศมีมีก้านชูดอกยาว 1-3 มม. แต่ละดอกประกอบด้วยกลีบเลี้ยงและกลีบดอก 5-6 กลีบ มีก้านชูเกสรตัวมี 1 อัน มีความยาว 2-2.5 มม. ดอกเพศเมียมีรังไข่ 1 อัน ภายในรังไข่ประกอบด้วย 4 locule

ผล ผลมีปีกคล้ายรูปพีระมิดกลับด้าน ผลแห้งมีสีน้ำตาลและมีปีก ผลมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-2.5 มม.

เมล็ด  เมล็ดมีลักษณะกลม มีผิวมันวาวสีน้ำตาลดำ มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-5 มม.

ใบสีเสียด
ใบสีเสียด ใบเรียวยาว ขอบใบหยัก

การขยายพันธุ์ของสีเสียดน้ำ

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่สีเสียดน้ำต้องการ

ประโยชน์ของสีเสียดน้ำ

เปลือกต้นสีเสียดน้ำ พบว่ามีสารทั้งหมด 9 ชนิด โดยมีสาร 2 ชนิดเป็นสารที่ไม่เคยมีรายงานวิจัยมาก่อนได้แก่สาร bergenin-8-Oα-L-rhamnoside และสาร seco-bergenin-8-Oα-L-rhamnoside ส่วนสารอีก 7 ชนิดเป็นสารที่เคยมีรายงานมาแล้วได้แก่สาร aleuritolic acid 3-acetate, bergenin, daucosterol, protocatechuic acid, 11-O-acetylbergenin, scopoletin และ blumenol A จากการศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพ พบว่าสาร seco-bergenin-8-Oα-L-rhamnoside และสาร protocatechuic acid มีฤทธิ์ต้านไวรัสที่ทำให้เกิดโรคเริมอย่างอ่อน นอกจากนี้จากการทดสอบฤทธิ์ความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งในช่องปาก (KB cell) และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระพบว่าไม่มีสารชนิดใดเลยที่มีฤทธิ์ดังกล่าว

ผลสีเสียดน้ำ
ผลสีเสียดน้ำ ผลมีปีกคล้ายรูปพีระมิดกลับด้าน

สรรพคุณทางยาของสีเสียดน้ำ

คุณค่าทางโภชนาการของสีเสียดน้ำ

การแปรรูปของสีเสียดน้ำ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12141&SystemType=BEDO
http://www.chulapedia.chula.ac.th
https://www.dnp.go.th

Add a Comment