ส้มกบ ต้นส้มกบ สรรพคุณ ช่วยระงับความร้อน ใช้เป็นยาขับพิษร้อนถอนพิษไข้

ส้มกบ

ชื่ออื่นๆ : ลาตา (ตรัง) ลุ, ส้มลุ (สุราษฎร์ธานี) ส้มกบ, ส้มเห็ด (ภาคเหนือ, ภาคอีสาน) ส้มลุ, ลุ, ลาตา (ภาคใต้) สั่งเหาะ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) ถู่เหลียนเชี่ยว (จีนกลาง)

ต้นกำเนิด : อนุทวีปอินเดียว อินโดจีน ฟิลิปปินส์

ชื่อสามัญ : อุโลก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hymenodictyon excelsum Wall.

ชื่อวงศ์ : Rubiaceae

ลักษณะของส้มกบ

ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 10-20 เมตร ลำต้นเปลาตรง เรือนออกเป็นทรงพุ่มกลมโปร่ง กิ่งแขนงแตกออกจากลำต้นเป็นวงรอบที่ปลายกิ่ง เปลือกต้นหนาแตกลอนเป็นสะเก็ด เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลปนเทาบางทีมีสีเทาปนน้ำตาล

ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ เป็นกระจุกตามปลายกิ่ง ลักษณะของใบเป็นรูปรี รูปไข่ หรือรูปโล่ ปลายใบมนมีติ่ง โคนใบสอบเข้าหาก้านใบ ส่วนขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 8-12 เซนติเมตร และยาวประมาณ 12-25 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นลอนเล็กน้อย หลังใบและท้องใบมีขนนุ่มทั้งสองด้าน แผ่นใบหนา เส้นใบเห็นได้ชัดเป็นร่างแห มีเส้นแขนงใบประมาณ 7-9 คู่ ก้านใบมีสีแดงอ่อน ยาวประมาณ 6 เซนติเมตร มีหูใบอยู่ระหว่างก้านใบ

ดอก ออกดอกเป็นช่อแบบแยกแขนง โดยจะออกตามซอกใบและปลายกิ่ง ในแต่ละช่อมีดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกเป็นสีขาวขนาดมีขนาดใหญ่กว่ากลีบฐานดอก ดอกมีกลิ่นหอม กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดรูปกรวย ปลายแยกเป็นแฉก 5 แฉก กว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-8 เซนติเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน อยู่ใจกลางดอก มีรังไข่ 2 ห้อง กลีบเลี้ยงมีเส้นใบคล้ายกับตาข่ายเป็นสีเขียว

ผล ผลพบได้ในดอก ลักษณะของผลเป็นรูปทรงรีขนาดเล็ก มีร่อง 2 ร่อง เมื่อสุกผลตะแตกได้ ผิวเปลือกผลแข็งบางเป็นสีน้ำตาลแดง ยาวได้ประมาณ 2-3 เซนติเมตร อยู่รวมกันเป็นพวงห้อยลง แต่ปลายผลชี้ย้อนขึ้นไปทางโคนช่อ ภายในผลมีมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดมีครีบหรือปีกบางๆ ที่ปลาย

ต้นส้มกบ
ต้นส้มกบ ลำต้นเปลาตรง เรือนออกเป็นทรงพุ่มกลมโปร่ง
ใบส้มกบ
ใบส้มกบ ใบเป็นรูปรี หลังใบและท้องใบมีขนนุ่มทั้งสองด้าน

การขยายพันธุ์ของส้มกบ

การใช้เมล็ด, การตอนกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่ส้มกบต้องการ

ประโยชน์ของส้มกบ

  • ใบอ่อนมีรสเปรี้ยว ใช้รับประทานเป็นผักสดหรือลวก ต้มกินกับน้ำพริก
  • เนื้อไม้ของต้นอุโลก สามารถนำมาใช้งานเบาๆ ได้ เช่น ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ หรือทำฝาบ้าน เป็นต้น
ดอกส้มกบ
ดอกส้มกบ ช่อมีดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกเป็นสีขาว

สรรพคุณทางยาของส้มกบ

  1. ราก แก่นและเปลือกต้น มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้พิษต่างๆ ช่วยระงับความร้อน ใช้เป็นยาขับพิษร้อนถอนพิษไข้ แก้ไข้ตัวร้อน ไข้หวัด แก้ไข้จับสั่น (ราก,แก่น,เปลือกต้น)
  2. ใช้เป็นยาแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ (ราก,แก่น,เปลือกต้น)
  3. ช่วยแก้อาการไอ (ราก,แก่น)
  4. ช่วยขับเสมหะ (ราก,แก่น)
  5. ใบและรากใช้เป็นยาดูดพิษฝีหนอง (ใบและราก)
  6. ใบและราก ใช้เป็นยาภายนอกแก้ไขข้ออักเสบ แก้ปวดบวมแดงตามข้อ (ใบและราก)

เปลือกต้นและใบอุโลกพบสารหลายชนิด ได้แก่ Aesculin, Scopoletin ส่วนรากอุโลกพบสาร Rubiadin, Lucidin, Damnacanthal, Morindon, Nordamnacanthal, 2-Benzylxanthopurpurin, 6-Methyllalizarin และ Anthragallol

คุณค่าทางโภชนาการของส้มกบ

การแปรรูปของส้มกบ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9579&SystemType=BEDO
https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1782&code_db=610010&code_type=01
https://www.flickr.com

Add a Comment