หงอนไก่
ชื่ออื่นๆ : หงอนไก่ดง หงอนไก่ดอกกลม หงอนไก่ฟ้า (ภาคกลาง), ด้ายสร้อย สร้อยไก่ (เชียงใหม่), หงอนไก่ฝรั่ง (ภาคกลาง)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : ดอกด้าย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Celosia argentea Linn. Var. cristata Ktre.
ชื่อวงศ์ : Amaranthaceae
ลักษณะของหงอนไก่
ไม้ล้มลุก สูงประมาณ 1.0-1.5 ม. ลำต้นเป็นสัน แตกกิ่งก้านสาขามาก ผิวขรุขระใบ ใบเรียงสลับ ใบเดี่ยว รูปหอกหรือรูปแถบแคบ กว้าง 1-6 ซม. ยาว 8-15 ซม. โคนใบแหลม ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเป็นคลื่นและมีไขปกคลุม เส้นใบนูนเด่นด้านท้องใบ ดอก ดอกช่อออกที่ปลายยอด ช่อดอกกว้าง 1.5-2.0 ซม. ช่อดอกมี 2 แบบคือ รูปทรงกระบอกและแบบรูปหงอนไก่ บางครั้งพบทั้งสองแบบในต้นเดียวกัน กลีบรวมมี 4 กลีบ รูปขอบขนานแกมรูปไข่ ยาว 0.6-1.0 ซม. เกสรเพศผู้ปลายแหลมมี 5 อัน ฐานรองดอกเชื่อมติดกันเป็นแผ่นย่น เป็นก้อนกลม ใบประดับรองดอกขนาดเล็กเป็นเส้นคล้ายกำมะหยี่ ดอกสมบูรณ์เพศ กลีบดอกมีหลายสี เช่น แดงสด ขาว และเหลืองผล ผลรูปไข่ค่อนข้างกลม สีดำเป็นมัน ขนาดเล็ก ผลแห้งแตกแบบมีฝาเปิด สีน้ำตาลอ่อน เมล็ดสีดำ เป็นมัน
การขยายพันธุ์ของหงอนไก่
ใช้เมล็ด/เพาะเมล็ดแล้วนำไปปลูกหรือว่าได้เลย
ธาตุอาหารหลักที่หงอนไก่ต้องการ
ประโยชน์ของหงอนไก่
- ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับแปลงทั่วไป ปลูกตามขอบแปลง ริมทางเดิน หรือจะปลูกเป็นไม้กระถางก็ได้ เพราะดอกมีความสวยงาม สีสันโดดเด่น เพาะปลูกได้ง่าย มีความแข็งแรงทนทนทาน สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี เมื่อดอกบานแล้วจะมีอายุยืนยาว เช่นเดียวกับดอกบานไม่รู้โรย เพราะอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่เมื่อดอกแล้วโรยแล้วจะต้องเปลี่ยนต้นใหม่
- หรือจะปลูกเป็นไม้ตัดดอกทำดอกไม้แห้งก็ได้ เพราะสามารถเก็บไว้ได้นานและไม่เปลี่ยน
สรรพคุณทางยาของหงอนไก่
–
คุณค่าทางโภชนาการของหงอนไก่
การแปรรูปของหงอนไก่
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11512&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com