หญ้าคา แฝก คา พืชใบเลี้ยงเดี่ยวล้มลุก มีอายุอยู่ข้ามฤดูและนานหลายปี

หญ้าคา แฝก คา

ชื่ออื่นๆ : คาหลวง , คา (ภาคกลาง) ลาแล , ลาลางมลายู และ เก้อฮี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) 

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : หญ้าคา Cogon grass, Alang-alang, Lalang

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Imperata cylindrica (L.) P.Beauv.

ชื่อวงศ์ : GRAMINEAE

ลักษณะของหญ้าคา แฝก คา

ต้น เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวล้มลุก มีอายุอยู่ข้ามฤดูและนานหลายปี สูงประมาณ 50 – 100 ซม. มีเหง้าใต้ดินรูปร่างยาวสีขาวและแข็งมาก ปลายแหลม

ใบ ใบเดี่ยวแทงออกจากเหง้ารูปแถบยาว ปลายแหลม โคนสอบเรียว กว้าง 1 – 2 ซม. ยาวได้ถึง 1 ม. ขอบใบคม ผิวใบมีขนสั้นแข็งเกาะติดจำนวนมาก ลำต้นแข็งยาวใบแข็งและสาก

ดอก ดอกออกเป็นช่อ โดยก้านช่อดอกออกจากเหง้าสูงเสมอปลายใบ  ดอกย่อยเกาะเวียนรอบปลายช่อ ดอกย่อยเล็กมีขนสีขาวฟูรอบๆ ดอก ก้านดอกสั้น

ผล ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตกรูปรี เมล็ดสีเหลือง

ต้นหญ็าคา
ต้นหญ็าคา พืชใบเลี้ยงเดี่ยว ปลายแหลม โคนสอบเรียว

การขยายพันธุ์ของหญ้าคา แฝก คา

การแตกกอ และเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่หญ้าคา แฝก คาต้องการ

ประโยชน์ของหญ้าคา แฝก คา

  • ในฐานะเป็นพืชเศรษฐกิจ ใช้ประโยชน์ในการมุงหลังคา กระท่อม คอกเลี้ยงหมู เล้าไก่ เล้าเป็ด สามารถกันแดดกันฝนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้หลังคาหญ้าคายังให้ความเย็นได้ดีกว่าการมุงหลังคาจากกระเบื้อง และสังกะสีซึ่งมีราคาแพงกว่าหญ้าคาหลายเท่าตัว และอายุการใช้งานของหลังคาหญ้าคาสามารถใช้ได้นานถึง 3 – 5 ปี ขึ้นอยู่กับความหนาของคาที่ใช้และนอกจากนี้ยังใช้ประโยชน์ในการจักสานอีกด้วย จึงนับได้ว่าหญ้าคากลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้แก่เกษตรกรเป็นอย่างมาก
  • ส่วนของใบ ใช้ปรุงเป็นยาต้มอาบ ผื่นคัน แก้ลมพิษ และแก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ส่วนของดอก ใช้ปรุงเป็นยารับประทานแก้ปวด นำมาตำเป็นยาพอกแผลอักเสบ บวมฝีมีหนอง และ อุจจาระเป็นเลือด ราก ใช้ปรุงเป็นยา แก้ร้อนใน แก้ไอกระหายน้ำ เป็นยารับประทานเพื่อห้ามเลือด แก้เลือดกำเดาไหล และแก้พิษอักเสบในกระเพาะอาหาร
ดอกหญ้าคา
ดอกหญ้าคา ดอกย่อยเล็กมีขนสีขาวฟู

สรรพคุณทางยาของหญ้าคา แฝก คา

  • ใช้ลำต้นสดหรือแห้ง นำมาปรุงเป็นยาแก้โรคไต แก้โรคมะเร็งคอ และแก้ฝี
  • ดอก ใช้เป็นยาแก้ปัสสาวะแดง แก้ไอ แก้มะเร็งในลำไส้ แก้ริดสีดวงต่าง ๆ
  • ราก ใช้ปรุงกินเป็นยาแก้ร้อนใน แก้พิษอักเสบในกระเพาะปัสสาวะ แก้น้ำดีซ่าน ตาเหลือง และเบื่ออาหาร
  • นอกจากนี้หญ้าคายังให้แร่ธาตุไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส, โปแทสเซียมอย่างมาก , ทำให้ดินร่วนซุย ทำให้ออกซิเจนลงไปในดิน ได้สะดวก ทำให้ไม่แน่น , มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับพืชตระกูลถั่วคือ ถ้าเน่าเป็นปุ๋ยแล้ว จะสามารถป้องกันเพลี้ยและแมลงต่างๆได้

คุณค่าทางโภชนาการของหญ้าคา แฝก คา

การแปรรูปของหญ้าคา แฝก คา

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12149&SystemType=BEDO
https://th.wikipedia.org
https://www.flickr.com

2 Comments

Add a Comment