หญ้าดอกลำโพง
ชื่ออื่นๆ : ต้นลำโพง, ลิ้นงู (สุโขทัย) การบูรดาน (อุบลราชธานี)
ต้นกำเนิด : พบเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันตกเฉียงใต้ของไทย ขึ้นตามพงหญ้าในป่าสนเขาของภูเขาหินทรายในเขตจังหวัดเลย ชัยภูมิ และพื้นที่ล่างของป่าเบญจพรรณ ในเขตจังหวัดกาญจนบุรี ระดับความสูง 200-1,400 เมตร
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Centranthera siamensis T. Yamaz.
ชื่อวงศ์ : SCROPHULARIACEAE
ลักษณะของหญ้าดอกลำโพง
ต้น ไม้ล้มลุก สูง 10–60 ซม. ลำต้นและใบส่วนมากมีสีน้ำตาลแดงอมม่วงและเขียว ส่วนต่าง ๆ มีขนหยาบแผ่ออก ส่วนมากไม่แตกกิ่ง
ใบ ใบเรียงตรงข้ามช่วงคนต้น ช่วงบนเรียงเวียน รูปไข่กลับ รูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน หรือรูปใบหอก กว้าง 0.3–1.2 ซม. ยาว 1–5 ซม. ขอบเรียบหรือจักซี่ฟันห่าง ๆ 2–3 ซี่ ปลายมนหรือกลม พบน้อยที่ปลายแหลม โคนเรียวสอบจรดก้านใบ
ดอก ดอกออกเดี่ยว ๆ ตามซอกใบ ใบประดับคล้ายใบ ใบประดับย่อยมี 2 อัน คล้ายขนแข็ง ยาว 1–2 มม. กลีบเลี้ยงรูปใบพาย ยาว 1–1.5 ซม. ขอบด้านล่างแยกออก ปลายเรียวแหลม กลีบลดรูปเป็นติ่ง ดอกรูปลำโพง ยาว 2.5–3.5 ซม. หลอดกลีบดอกสีม่วงอมแดงหรือเหลือง กลีบบนแยกเป็น 2 พู กลีบล่าง 3 กลีบ กลีบรูปกลม กว้างยาว 3–4 มม. สีขาวหรือชมพูอ่อน เกสรเพศผู้อันยาว 2 อัน อันสั้น 2 อัน ติดที่โคนหลอดกลีบดอก ก้านชูอับเรณูช่วงปลายมีขนคล้ายขนแกะหนาแน่น อับเรณูขนาดไม่เท่ากัน โคนมีรยางค์สั้น ๆ ก้าน รังไข่เกลี้ยง มี 2 ช่อง ฝ่อ 1 ช่อง เกสรเพศเมียเรียวยาวรูปลิ้น
ผล ผลแห้งแตก รูปขอบขนาน ยาว 0.8–1 ซม. ปลายเป็นติ่ง เมล็ดจำนวนมาก รูปไข่ ยาวประมาณ 0.6 มม.
การขยายพันธุ์ของหญ้าดอกลำโพง
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่หญ้าดอกลำโพงต้องการ
ประโยชน์ของหญ้าดอกลำโพง
พืชถิ่นเดียว และพืชหายาก
สรรพคุณทางยาของหญ้าดอกลำโพง
- ใบ แก้พิษสุนัขบ้า เป็นยาตัดราก
- ทั้งต้น ยาพื้นบ้านอีสานใช้ ต้มน้ำดื่ม ขับลม
- ทั้งต้น ยาพื้นบ้านล้านนาใช้ ปรุงเป็นยาลูกกลอนรับประทาน แก้ไข้
คุณค่าทางโภชนาการของหญ้าดอกลำโพง
การแปรรูปของหญ้าหางดอกลำโพง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10580&SystemType=BEDO
https://www.dnp.go.th