หญ้าปักกิ่ง,หญ้าเทวดา ไม้ล้มลุกทอดเลื้อยตามผิวดิน

หญ้าปักกิ่ง,หญ้าเทวดา

ชื่ออื่นๆ : ผักปลาบโคก, ผักลืมผัวใหญ่, หญ้ากระลื่นเขา, หญ้าเทวดา, เล้งจือเช่

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : หญ้าปักกิ่ง, หญ้าเทวดา Angel grass

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Murdannia loriformis (Hassk.) Rolla Rao et Kammathy

ชื่อวงศ์ : Commelinaceae

ลักษณะของหญ้าปักกิ่ง,หญ้าเทวดา

ไม้ล้มลุกอายุหลายปี ทอดเลื้อยตามผิวดิน ลำต้นมีลักษณะเป็นปล้อง ใบ เดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปใบหอก หรือ แกมรูปไข่ ยาว 3-12 ซม. ผิวเกลี้ยงหรือมีขนหยาบด้านล่าง ดอก ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกที่ปลายยอด ยาว 2-3 ซม.มีใบประดับซ้อนกัน สีเขียวอ่อนบางใส กลีบดอก 3 กลีบ สีฟ้าอมม่วง ผล แบบแห้งแตกรูปสามเหลี่ยม ยาวประมาณ 4 มม.

หญ้าปักกิ่ง
ลำต้นเป็นปล้อง ผิวเกลี้ยงหรือมีขนหยาบด้านล่าง

การขยายพันธุ์ของหญ้าปักกิ่ง,หญ้าเทวดา

ใช้กิ่ง/ลำต้น/เป็นพืชที่ชอบดินร่วนหรือดินปนทราย งอกงามในที่มีแดดรำไรไม่ต้องการน้ำมาก วิธีปลูกให้นำ ต้นเล็ก ที่มีรากมาปลูกหรือใช้เมล็ด อาจปลูกเป็นพืชคลุมดินใต้ต้นไม้ใหญ่ ปลูกในกระบะหรือกระถาง หญ้าปักกิ่งเป็นพืชที่ปลูกง่ายและไม่จำเป็นต้องมีเนื้อที่มาก

ธาตุอาหารหลักที่หญ้าปักกิ่ง,หญ้าเทวดาต้องการ

ประโยชน์ของหญ้าปักกิ่ง,หญ้าเทวดา

ใบ ตากแห้งชงดื่มเป็นยาลดความดัน ทั้งต้น ต้มดื่มแก้เจ็บคอ หรือคั้นน้ำดื่มแก้มะเร็งเม็ดเลือดขาว ในลำคอ ตับ มดลูก ลำไส้ส่วนปลาย และมะเร็งผิวหนัง

ในประเทศจีนนำมาหญ้าปักกิ่งมาใช้รักษาโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ เป็นส่วนประกอบในยาแผนโบราณของจีนมานานกว่า 1,000 ปี ใช้เป็นยาอายุวัฒนะเพิ่มความสมดุลย์ของระบบในร่างกาย ยาจีนจัดหญ้าปักกิ่งอยู่ในกลุ่มของยาเย็น ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกายและชาวจีนยังนำหญ้าปักกิ่งมาใช้ในการรักษาโรคเบาหวานอีกด้วย การนำหญ้าปักกิ่งไปใช้ จะใช้ทั้งต้นหรือส่วนเหนือดิน โดยต้นที่นำมาใช้เป็นยา ควรมีอายุประมาณ 3-4 เดือน (ตั้งแต่เริ่มออกดอก)

วิธีการเตรียมน้ำคั้นจากหญ้าปักกิ่ง กล่าวคือให้นำทั้งต้น น้ำหนัก 100-120 กรัม หรือจำนวน 6 ต้น ล้างน้ำให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นเล็กๆและโขลกในครกที่สะอาดให้แหลกเติมน้ำสะอาด 4 ช้อนโต๊ะ กรองผ่านผ้าขาวบาง ส่วนวิธีใช้ ก็ให้ดื่มน้ำคั้น 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ก่อนอาหาร

สรรพคุณทางยาของหญ้าปักกิ่ง,หญ้าเทวดา

ในประเทศไทยประมาณ 15 ปีที่แล้ว ได้มีการใช้น้ำคั้นสดจากต้นปักกิ่ง เพื่อรักษาและบรรเทาอาการจากโรคมะเร็ง
บางรายใช้ร่วมกับการรักษาแบบแผนปัจจุบันเพื่อลดผลข้างเคียง แต่ในขณะนั้นก็ยังไม่ได้มีรายงานหรือ หลักฐาน
ทางวิทยาศาสตร์ ยืนยันว่ารักษาโรคมะเร็งได้ แต่ก็ได้แนวความคิดในการศึกษาว่าน้ำคั้นจากหญ้าปักกิ่งนั้น
จะสามารถรักษาโรคมะเร็งได้จริงหรือ?

มหาวิทยาลัยมหิดลได้ให้ความสำคัญและมีรายงานการวิจัยเกี่ยวกับหญ้าปักกิ่งโดยจัดให้การศึกษาลักษณะทาง
พฤกษศาสตร์ของหญ้าปักกิ่ง มีการจัดทำมาตรฐานของหญ้าปักกิ่ง รวมไปถึงการศึกษาในการทดสอบความเป็นพิษ
ผลการวิจัยพบว่าใบของหญ้าปักกิ่งเมื่อสัมผัสจะทำให้เกิดอาการแพ้ มีอาการผื่นคัน ภายในใบหญ้ามีผลึกแคลเซียมออกซาเลทรูปเข้มจำนวนมากและมีเกลืออนินทรีย์ ของโซเดียมและโปแทสเซียม
อยู่ประมาณ 0.1% น้ำคั้นจากหญ้าปักกิ่ง ไม่ทำให้เกิดความผิดปกติในด้านการเจริญเติบโต เคมีของเลือด และพยาธิสภาพของอวัยวะสำคัญในหนูขาวและผลของการทดสอบความเป็นพิษพบว่า หญ้าปักกิ่งเป็นสมุนไพร
ที่ค่อนข้าง ปลอดภัยเพียงพอในขนาดรักษาติดต่อกันนาน3 เดือน ในด้านการรักษาโรคมะเร็งของหญ้าปักกิ่ง
ได้มีการวิจัยเบื้องต้นโดยแยกสาร ที่แสดงคุณสมบัติต้านมะเร็งพบว่าหญ้าปักกิ่ง ประกอบด้วยสารกลุ่มต่างๆ
ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต กรดอะมิโน กลัยโคไซด์ ฟลาโวนอยด์ และอะกลัยโคน ผลการทดสอบพบว่าสารในกลุ่ม
อะกลัยโคน และกลุ่มกลัยโคไซด์ แสดงฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็ง (direct toxicity) ต่อเซลล์มะเร็งเต้านม
(ATCC HTB 20) และเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ (SW620) ได้ ยังมีรายงานฤทธิ์ในการต้าน การกลายพันธุ์
ของหญ้าปักกิ่ง ซึ่งอาจบ่งชี้ว่าหญ้าปักกิ่งอาจป้องการเกิดมะเร็งได้อีกด้วย อย่างไรก็ดีจำเป็นต้องมีการศึกษา
และประเมินประสิทธิภาพของหญ้าปักกิ่งเสียก่อน รวมทั้งการศึกษาทางคลินิกเพื่อยืนยันผลให้แน่นอนอีกด้วย

คุณค่าทางโภชนาการของหญ้าปักกิ่ง,หญ้าเทวดา

การแปรรูปของหญ้าปักกิ่ง,หญ้าเทวดา

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12170&SystemType=BEDO
https://www.qsbg.org/Database/BOTANIC_Book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=2523

2 Comments

Add a Comment