หญ้าแหวน พืชอาหารสัตว์

หญ้าแหวน

ชื่ออื่นๆ : หญ้าแหวน หญ้าหนวดเจ้าชู้

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : หญ้าแหวน หญ้าหนวดเจ้าชู้ nadi blue grass

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dichantium caricosum (L.) A. Camus

ชื่อวงศ์ : GRAMINEAE

ลักษณะของหญ้าแหวน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์และเกษตร เป็นพืชอายุหลายปี มีลำต้นเรียวเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 – 1.4 มิลลิเมตร สูง 50 – 67 เซนติเมตร ความยาวของลำต้น 21 – 37 เซนติเมตร ใบมีลักษณะเรียวแหลมไปที่ปลายใบ มีขนาดกว้าง 0.3 – 0.4 เซนติเมตร ยาว 6 – 10 เซนติเมตร ขอบใบมีลักษณะเป็นจักฟันเลื่อยเล็ก ๆ (serrulate) หน้าใบ หลังใบมีขนสั้น ๆ น้อยมากถึงไม่มีขน ลิ้นใบ (ligule) มีลักษณะเป็นแผ่นบาง ๆ สั้นมาก ปลายเรียบ (membranous entire) กาบใบยาว 3 – 5 เซนติเมตร ไม่มีขน มีสีเขียวเข้ม ลำต้นในส่วนที่กาบใบหุ้มมีสีเขียวออกเหลือง แต่ในส่วนที่โดนแสงจะมีสีน้ำตาลแดง ข้อมีปุยขนสีขาว ช่อดอกยาว 26 – 34 เซนติเมตร มี 1 raceme ยาว 7 – 8 เซนติเมตร ดอกมีสีเขียว ปลายกาบดอกมีสีม่วงแดง อับเรณู (anther) สีเหลืองนวล ยอดเกสรเพศเมีย (stigma) มีสีม่วงเข้มเปลือกมังคุด กาบดอกทั้งส่วนบนและส่วนล่าง มีขนสั้นละเอียดหนาแน่น และมีหางยาวประมาณ 2.5 มิลลิเมตร ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด และหน่อ

หญ้าแหวน
หญ้าแหวน ลำต้นเรียวเล็ก ใบเรียวแหลม

การขยายพันธุ์ของหญ้าแหวน

ใช้หัว/เหง้า/หน่อ/ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด และหน่อ

ธาตุอาหารหลักที่หญ้าแหวนต้องการ

ประโยชน์ของหญ้าแหวน

การใช้ประโยชน์ เป็นอาหารสัตว์ โค กระบือ โดยการตัด หรือปล่อยแทะเล็ม

ดอกหญ้าแหวน
ดอกหญ้าแหวน ช่อดอกยาวสีเขียวปลายกาบดอกมีสีม่วงแดง

สรรพคุณทางยาของหญ้าแหวน

คุณค่าทางโภชนาการของหญ้าแหวน

คุณค่าทางอาหาร อายุ 45 วัน มีโปรตีน 8.7 – 8.9 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัส 0.15 เปอร์เซ็นต์ โพแทสเซียม 0.90 เปอร์เซ็นต์ แคลเซียม 0.64 เปอร์เซ็นต์ ADF 32.8 – 36.5 เปอร์เซ็นต์ NDF 63.1 – 64.8 เปอร์เซ็นต์ DMD 48.8 เปอร์เซ็นต์ (โดยวิธี Nylon bag) ลิกนิน 6.3 เปอร์เซ็นต์

การแปรรูปของหญ้าแหวน

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12150&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment