หญ้าแห้วหมู
ชื่ออื่นๆ : หญ้าขนหมู (แม่ฮ่องสอน) หญ้าแห้วหมู, หัวแห้วหมู, หญ้ามะนิ่วหมู
ต้นกำเนิด : พบขึ้นในป่าเต็งรัง ขึ้นอยู่บริเวณพื้นที่โล่ง หรือทุ่งหญ้าที่เป็นดินทราย
ชื่อสามัญ : หญ้าแห้วหมู
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cyperus rotundus L.
ชื่อวงศ์ : : CYPERACEAE
ลักษณะของหญ้าแห้วหมู
ต้น ไม้ล้มลุก มีลำต้นอยู่ใต้ดินมีลักษณะเป็นหัวกลม มีตาจำนวนมาก และสามารถแทงไหลไปได้ไกลแล้วเกิดหัวใหม่เจริญขึ้นเป็นต้นเหนือดิน
ใบ ใบเกิดที่ลำต้นชิดแน่น โดยเป็นกาบใบหุ้มซ้อนม้วนทับกันชูขึ้นเหมือนลำต้น แล้วแผ่เป็นแผ่น ใบแบนรูปแถบยาวปลายแหลม กลางใบเป็นสันร่องผิวใบเรียบสีเขียวเข้ม
ดอก ดอกเกิดที่ปลายยอด ก้านช่อดอกเป็นรูปเหลี่ยม สีเขียวเข้ม แทงขึ้นสูงแล้วแตกเป็นช่อย่อยอีกหลายช่อ ดอกย่อยสีน้ำตาลจำนวนมาก
ผล ผลรูปขอบขนาน ปลายแหลมสีน้ำตาลหรือสีดำ
การขยายพันธุ์ของหญ้าแห้วหมู
ใช้หัว/เหง้า/หน่อ/แยกเหง้า/ไหลปลูกได้เลย
ธาตุอาหารหลักที่หญ้าแห้วหมูต้องการ
ประโยชน์ของหญ้าแห้วหมู
ลำต้นช่วยขับลม ใช้แก้ปวด ปวดประจำเดือน และปวดกระเพาะอาหาร
สรรพคุณทางยาของหญ้าแห้วหมู
- ช่วยขับลม
- แก้อาการแน่นหน้าอก อาเจียน
- แก้ปวดท้อง
- ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ
- เป็นยากล่อมประสาท
- เป็นยาแก้ปวดในหญิงที่ประจำเดือนไม่ปกติ
- ลดการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ
- ใช้แก้อาการคันตามผิวหนัง เป็นยาพอกฝีดูดหนอง
- ใช้เป็นยาบำรุงทารกในครรภ์
- ช่วยขับลมในลำไส้ แก้อาการปวดท้องเนื่องจากท้องอืด เฟ้อ
- ใช้เป็นยาแก้ปวด แก้อักเสบ
- รักษาอาการคลื่นเหียน อาการอักเสบ ลดความเจ็บ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
- รักษาแผลในกระเพาะอาหารเพิ่มความดันโลหิต
- ช่วยกระตุ้นประสาท กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือด
- ลดอาการหดเกร็งของลำไส้ กล้ามเนื้อมดลูก และกล้ามเนื้อเรียบ
- บำรุงหัวใจ
- กระตุ้นระบบหายใจ
- ช่วยลดระดับไขมัน
คุณค่าทางโภชนาการของหญ้าแห้วหมู
การแปรรูปของหญ้าแห้วหมู
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10596&SystemType=BEDO
http://biodiversity.forest.go.th
https://www.flickr.com