หนวดปลาดุก, หญ้าหนวดแมว, หญ้าไข่กบ, หญ้าไข่เขียด

หนวดปลาดุก, หญ้าหนวดแมว, หญ้าไข่กบ, หญ้าไข่เขียด

ชื่ออื่นๆ : หนวดปลาดุก, หญ้าหนวดแมว, หญ้าไข่กบ, หญ้าไข่เขียด หญ้าดอกแดง (เชียงใหม่)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : grass-like fimbristylis , Tall fringe rush

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Fimbristylis miliacea (L.) Vahl.

ชื่อวงศ์ : CYPERACEAE

ลักษณะของหนวดปลาดุก, หญ้าหนวดแมว, หญ้าไข่กบ, หญ้าไข่เขียด

กกอายุปีเดียว สูง 10-60 ซม. ลำต้นค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมหรือกลม กาบใบเรียงซ้อนกัน แบนด้านข้าง แต่ละแผ่นยาว 3-15 ซม. ใบเชื่อมกับกาบใบ ใบประดับ รูปแถบ จำนวน 3-10 แผ่น ยาว 1-3 ซม. ดอก ออกเป็นช่อโปร่ง ช่อดอกย่อยรูปไข่หรือกลม ยาว 1-3 มม. กาบช่อย่อยรูปไข่ เป็นแผ่นบาง ติดแบบสลับบนแกนช่อดอกย่อย เกสรเพศผู้ 1-2 อัน ปลายเกสรเพศเมียมี 3 ก้าน ผล สีเหลืองจาง ทรงสามเหลี่ยมแกมรูปไข่ ยาว 0.6-0.8 มม. กว้าง 0.3-0.5 มม. ผิวมีตุ่มกระจาย

หญ้าหนวดปลาดุก
หญ้าหนวดปลาดุก ดอก ออกเป็นช่อโปร่ง

การขยายพันธุ์ของหนวดปลาดุก, หญ้าหนวดแมว, หญ้าไข่กบ, หญ้าไข่เขียด

ใช้เมล็ด/ดินชื้นไม่มีน้ำขัง

ธาตุอาหารหลักที่หนวดปลาดุก, หญ้าหนวดแมว, หญ้าไข่กบ, หญ้าไข่เขียดต้องการ

ประโยชน์ของหนวดปลาดุก, หญ้าหนวดแมว, หญ้าไข่กบ, หญ้าไข่เขียด

ระบบนิเวศนา เป็นนาหว่านน้ำตม นาหว่านข้าวแห้งและนาดำ

สรรพคุณทางยาของหนวดปลาดุก, หญ้าหนวดแมว, หญ้าไข่กบ, หญ้าไข่เขียด

หญ้าหนวดปลาดุก ใช้ทั้งต้น รสขม สรรพคุณ บำรุงโลหิต
เจริญอาหาร แก้ไข้มาลาเรีย แก้ไข้ ผอมเหลือง แก้ไอ แก้หืด

คุณค่าทางโภชนาการของหนวดปลาดุก, หญ้าหนวดแมว, หญ้าไข่กบ, หญ้าไข่เขียด

การแปรรูปของหนวดปลาดุก, หญ้าหนวดแมว, หญ้าไข่กบ, หญ้าไข่เขียด

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11267&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment