ต้นฝาง ลำต้นมีหนามโค้งสั้นและแข็งทั่วทุกส่วน

ต้นฝาง

ชื่ออื่นๆ : ง้าย (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ฝาง (ทั่วไป) ฝางส้ม (กาญจนบุรี) ขวาง, ฝางแดง, หนามโค้ง (แพร่) ฝางเสน (ทั่วไป กรุงเทพ) 

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Sappan Tree

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia sappan L

ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE – CAESALPINIOIDEAE

ลักษณะของต้นฝาง

ต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลาง หรือ ไม้พุ่มแตกกิ่งที่โคน สูง 5-8 เมตร สำต้นมีหนามโค้งสั้นๆ และแข็งทั่วทุกส่วน เนื้อไม้หรือแก่นเป็นสีแดงเข้มและมีรสขมหวาน จะเรียกว่าฝางแสน

ต้นฝาง
ต้นฝาง สำต้นมีหนามโค้งสั้นๆ และแข็งทั่วทุกส่วน

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับกัน ใบย่อยรูปไข่หรือรูปขอบขนานกว้าง 0.6-0.8 ซม. ยาว 1.5-1.8 ซม. โคนใบเฉียง 

ใบฝาง
ใบฝาง ใบย่อยรูปขนานปลายใบกลมหรือตื้น

ดอก ช่อ ออกที่ซอกใบตอนปลายกิ่งและที่ปลายกิ่ง กลีบรองดอกมี 5 กลีบ ขอบกลีบเกยซ้อนกัน กลีบล่างสุดโค้งงอและใหญ่กว่ากลีบอื่น กลีบดอกสีเหลือง มี 5 กลีบ เกสรตัวผู้มี 10 อัน แยกเป็นอิสระ

ดอกฝาง
ดอกฝาง ดอกสีเหลืองมี 5 กลีบ

 ผล เป็นฝักแบนแข็งเป็นจงอยแหลม เปลือกเป็นสันมน ปลายแหลม  มีเมล็ดเป็นรูปรี 2-4 เมล็ด ออกผลในช่วงสิงหาคมถึงพฤษภาคม

ผลฝาง
ผลฝาง ผลเป็นฝักแบนแข็ง

การขยายพันธุ์ของต้นฝาง

พบทั่วไปในป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าเขาหินปูนแห้งแล้ง และตามชายป่าดงดิบทั่วประเทศไทย ในต่างประเทศ พบที่อเมริกาใต้ ปลูกกันอย่างกว้างขวางตลอดเขตร้อน อินเดีย ศรีลังกา พม่า กัมพูชา ลาว เวียดนาม จีนตอนใต้

ธาตุอาหารหลักที่ต้นฝางต้องการ

ประโยชน์ของต้นฝาง

  • ปลูกเป็นไม้ประดับหรือเป็นไม้ให้ร่มเงา
  • เนื้อไม้ นำมาใช้ในการทำเครื่องเรือนชั้นดี
  • ราก ให้สีเหลือง ใช้ทำสีย้อมผ้าและไหมได้

ฝาง มี 2 ชนิด ชนิดหนึ่งแก่นสีแดงเข้ม เรียกว่า ฝางเสน อีกชนิดหนึ่งแก่นสีเหลือง เรียกว่าฝางส้ม ใช้ทำเป็นยาต้ม 1 ใน 20 หรือยาสกัดสำหรับ Haematoxylin ใช้เป็นสีสำหรับย้อม Nuclei ของเซล ใช้แก่นฝางต้มเคี่ยว จะได้น้ำสีแดงเข้มคล้ายด่างทับทิมใช้ย้อมผ้าไหม งามดีมาก  ใช้แต่งสีอาหาร ทำยาอุทัย

สรรพคุณทางยาของต้นฝาง

  • เนื้อไม้และแก่นฝาง รสขื่นขมหวานฝาด ใช้แก้ปวดท้องร่วง แก้ธาตุพิการ แก้ร้อน ยาบำรุงโลหิตสตรี ขับประจำเดือน แก้ปอดพิการ ขับหนอง แก้โลหิตออกทางทวารหนักและเบา รักษาน้ำกัดเท้า แก้คุดทะราด แก้เสมหะ แก้เลือดกำเดา

วิธีใช้เป็นยาขับประจำเดือน ใช้แก่น 5-15 กรัม ต้มกันน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เติมเนื้อมะขามเปียกที่ติดรกอยู่ (แกะเมล็ดออกแล้ว) ประมาณ 4-5 ฝัก เีคี่ยวให้เหลือ 1 แก้ว รับประทานเช้า – เย็น

วิธีใช้เป็นยารักษาน้ำกัดเท้า ใช้แก่น 2 ชิ้น ฝนกับน้ำปูนใสให้ข้นๆ ทาบริเวณน้ำกัดเท้า (ในแก่นฝางมีตัวยา ฝาดสมาน)

วิธีใช้แก้ท้องร่วง ท้องเดิน ใช้แก่น 3-9 กรัม ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี้ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้ง ละครึ่งถ้วยแก้ว หรือใช้ฝาง 1 ส่วนน้ำ 20 ส่วน ต้มเคี่ยว 15 นาที รับประทานครั้งละ 2-4 ช้อนโต๊ะ หรือ 4-8 ช้อนแกง
การใช้ประโยชน์ทางด้านอื่นๆ ทำสีย้อม ฝางมี 2 ชนิด ชนิดหนึ่งแก่นสีแดงเข้ม เรียกว่า ฝางเสน อีกชนิดหนึ่งแก่นสีเหลือง เรียกว่า ฝางส้ม นำมาต้มสกัดสาร Haematexylin ใช้ย้อมสี Nuclei ของเซลล์ หรือต้มให้สีแดงที่ เรียกว่า sappanin ซึ่งเป็นสารให้สีประเภท Brazilin ใช้ทำน้ำยางอุทัยผสมน้ำดื่ม สีผสมอาหารและชาวบ้านนิยมนำมาย้อมสีผ้าไหม ผ้าฝ้ายและผ้าขนสัตว์

คุณค่าทางโภชนาการของต้นฝาง

การแปรรูปของต้นฝาง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9801&SystemType=BEDO
www.forest.go.th, www.flickr.com

Add a Comment