หนามแน่แดง เครือต้มน้ำกินเวลาที่โดนพิษจากสัตว์มีพิษ นิยมใช้ปลูกเป็นไม้ดอกประดับบ้าน

หนามแน่แดง

ชื่ออื่นๆ :  รางจืดแดง, หนามแน่แดง,น้ำปู้(เชียงใหม่),ปังกะล่ะกวอ(กระเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : หนามแน่แดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thumbergia laurifolia Lindl.

ชื่อวงศ์ : Acanthaceae

ลักษณะของหนามแน่แดง

ต้น ไม้เถาพ้นเลื้อย ยาวได้ถึง 20 เมตร ลำต้นเป็นไม้เนื้อแข็ง รูปร่างทรงกระบอกเปลือกสีน้ำตาลอมแดงถึงน้ำตาลเข้ม แตกกิ่งก้านสาขาได้มาก ปกคลุมต้นไม้อื่น

ใบ ใบเดี่ยว ออกจากข้อของลำต้นหรือกิ่งเป็นคู่ตรงกันข้ามแบบเวียนรอบ ทิ้งระยะค่อนข้างห่างระหว่างข้อ ก้านใบค่อนข้างกลมยาว 1-3 ซม. ผิวเกลี้ยง ไม่มีขน แผ่นใบรูปไข่แกมใบหอกถึงรูปไข่แกมขอบขนาน ขนาดกว้าง 2.5-7.0 ซม. ยาว 7-15 ซม. ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบโค้งมน ป้านหรือเว้าลึกเล็กน้อย ขอบใบหยักคล้ายซี่เลื่อยหรือลูกคลื่นห่างๆ และไม่สม่ำเสมอ เนื้อใบค่อนไปทางบาง ผิวใบด้านบนเกลี้ยง สีเขียว ด้านล่างสีอ่อนกว่าและมักมีนวลสีขาวปกคลุม เส้นใบออกจากโคนใบ 5-7 เส้น

ดอก ดอกออกเป็นช่อห้อยจากชอกใบในบริเวณปลายกิ่ง ช่อดอกยาวได้ถึง 2 เมตร ดอกย่อยสมบูรณ์เพศจำนวน 20-60 ดอกต่อช่อ เรียงตัวแบบเวียนรอบแกนช่อ ทิ้งระยะค่อนข้างห่าง มีใบประดับรูปไข่ปลาแหลมหรือมนเล็กน้อย สีส้มอมแดงถึงสีแดงอมม่วงหุ้มดอกเมื่อดอกตูม เมื่อเริ่มบานกลีบดอกสีเหลืองอ่อนถึงเหลืองเข้มโผล่ออกมาทางด้านล่างของใบประดับ กลีบเลี้ยงเล็กมากเป็นแถบเล็กๆ อยู่บริเวณโคนกลีบดอก กลีบดอกมีช่วงโคนเชื่อมกันเป็นท่อยาวประมาณเศษสองส่วนสามของความยาวของกลีบดอก ช่วงปลายแยกเป็นกลีบ 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน กลีบบนสุดโตกว่ากลีบอื่นๆ และตั้งขึ้น กลีบที่เหลืออีก 4 กลีบมักพับลง ผิวด้านในของกลีบมีสีอ่อนกว่าด้านนอก เกสรเพศผู้ 4 อัน อยู่ลึกลงไปในท่อกลีบดอก ก้านเกสรนั้น รังไข่ 1 อัน ก้านเกสรสั้น

ผล  ผลเป็นฝักประเภทแห้งแตกได้ รูปไข่ยาว 5-8 มม. ปลายเป็นจะงอยยาวและแข็ง ภายในมีเมล็ดหลายเมล็ด

ต้นหนามแน่แดง
ต้นหนามแน่แดง ผิวใบด้านบนเกลี้ยง สีเขียว ด้านล่างสีอ่อนกว่าและมีนวลสีขาว

การขยายพันธุ์ของหนามแน่แดง

การเพาะเมล็ดหรือการปักชำ

ธาตุอาหารหลักที่หนามแน่แดงต้องการ

ประโยชน์ของหนามแน่แดง

  • นิยมใช้ปลูกเป็นไม้ดอกประดับบ้าน
  • ดอก นำไปประกอบอาหาร เช่น แกง(ลั้วะ)

สรรพคุณทางยาของหนามแน่แดง

  • ใบและเครือ นำไปต้มหรือไม่ต้มก็ได้เอาน้ำที่อยู่ภายในลำต้นมาล้างตา แก้อาการเคืองตา ตาแดง เจ็บตา ดอกและผล นำมาตำพอกแผลที่โดนงูกัด ช่วยดูดพิษ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
  • เครือ ต้มน้ำกินเวลาที่โดนพิษจากสัตว์มีพิษ เช่น งู ตะขาบ แมงป่อง แมงมุมพิษ มีฤทธิ์แรงกว่าจอลอดิ๊กเดอพอกวา(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
  • ชาวเขาเผ่าปะหล่องไทยใหญ่และพม่าใช้เถาอ่อนและใบต้มน้ำอาบเป็นยาแก้ไข้ เย้าใช้เถาต้มน้ำให้เด็กอาบแก้อาการเด็กนอนไม่หลับ
  • ยาพื้นบ้านล้านนา ใช้รากผสมสมุนไพรอื่น เช่นรากพญาดง Persicaria chinensis ต้มน้ำดื่มแก้อาการปวดท้องน้อยของผู้ป่วยกามโรคยาพื้นบ้านใช้เถา รากและใบเป็นยาแก้พิษยาเบื่อ พิษยาฆ่าแมลงหรือยาฆ่าหญ้า เชื่อว่ามีฤทธิ์แรงกว่ารางจืด Thunbergia laurifolia
ดอกหนามแน่แดง
ดอกหนามแน่แดง ดอกสีส้มอมแดง เป็นช่อยาวห้อยลงมาตามปลายกิ่ง

คุณค่าทางโภชนาการของหนามแน่แดง

การแปรรูปของหนามแน่แดง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11639&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment