หนุมานประสานกาย แผ่นใบเรียบสีเขียวเป็นมัน

หนุมานประสานกาย

ชื่ออื่นๆ : ว่านอ้อยช้าง (เลย), ชิดฮะลั้ง กุชิดฮะลั้ง (จีน)

ต้นกำเนิด : เวียดนาม จีนตะวันออกเฉียงใต้ และจีนตอนใต้

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Schefflera leucantha R. Vig.

ชื่อวงศ์ : Araliaceae

ลักษณะของหนุมานประสานกาย

ต้น ไม้พุ่ม สูง 1-4 เมตร แตกกิ่งก้านต่ำใกล้พื้นดิน เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล

ใบ เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกเรียงสลับ มีใบย่อย 6-8 ใบ รูปรี กว้าง 1.5-3 ซม. ยาว 5-8 ซม. โคนใบแหลม ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบสีเขียวเป็นมัน

ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกเล็กสีขาวนวล

ผล เป็นผลมีเนื้อ รูปทรงกลม ขนาดเล็ก

หนุมานประสานกาย
หนุมานประสานกาย แผ่นใบเรียบสีเขียวเป็นมัน

การขยายพันธุ์ของหนุมานประสานกาย

ปักชำหรือตอนกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่หนุมานประสานกายต้องการ

ประโยชน์ของหนุมานประสานกาย

ปลูกเป็นไม้ประดับรั้ว

สรรพคุณทางยาของหนุมานประสานกาย

ส่วนที่ใช้ : ใบสด

รักษาโรคหืด โรคแพ้อากาศ ขับเสมหะ รักษาโรคหลอดลมอักเสบ รักษาวัณโรคปอด แก้ไอ แก้อาเจียนเป็นเลือด ตำพอกแผลห้ามเลือด ห้ามเลือด

วิธีและปริมาณที่ใช้ :

รักษาโรคหืด แพ้อากาศ ขับเสมหะ และโรคหลอดลมอักเสบ
ใช้ใบสดเล็กๆ 9 ใบ ต้มกับน้ำ 3 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว รับประทานวันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหาร เช้า-เย็น เป็นเวลา 49 วัน หืดควรจะหาย

ยาแก้อาเจียนเป็นเลือด
ใช้ใบสด 12 ใบย่อย ตำคั้นน้ำ 2 ถ้วยตะไล รับประทานครั้งละ 1 ถ้วยตะไล ติดต่อกัน 5-7 วัน

ใช้รักษาวัณโรค
ใช้เหมือนวิธีที่ 1 ติดต่อกัน 60 วัน แล้ว x-ray ดู ปอดจะหาย แล้วให้รับประทานต่อมาอีกระยะหนึ่ง

สารเคมี : พบ Oleic acid, butulinic acid, D – glucose, D – Xylose, L – rhamnose

คุณค่าทางโภชนาการของหนุมานประสานกาย

การแปรรูปของหนุมานประสานกาย

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11535&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment