หมากเตี้ย
ชื่ออื่นๆ :
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : Dwarf Betel Nut Palm
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Areca catecuhu L.
ชื่อวงศ์ : PALMAE
ลักษณะของหมากเตี้ย
ต้น : เป็นเป็นไม้ยืนต้นลำต้นเดี่ยวไม่แตกกอ เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นประมาณ 5-6 นิ้ว
ใบ : มีก้านใบสั้นมาก หมากเตี้ยมีใบสั้น เป็นพุ่ม ใบติดเป็นแผ่น ก้านใบชิดลำต้นมาก ระยะแรกจะมีการเจริญทางลำต้น โตจะเป็นพุ่ม เจริญเติบโตด้านความสูง มีข้อสั้นมาก สูงช้ามาก ข้อของหมากสามารถคำนวณหาอายุหมากได้ 1 ปี
ดอก : ออกที่ซอกโคนก้านใบ ดอกรวมเป็นช่อใหญ่ ดอกมีสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอมหวานเย็น
ผล การติดผลจะติดเป็นทะลายห้อยจากลำต้นเด่นชัด ผลอ่อนสีเขียวเข้ม เรียกหมากดิบ ผลแก่จะผิวเปลือกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมส้มทั้งผลเรียกหมากสุกหรือหมากสง
หมาก (Areca catechu)ชาวต่างชาติเรียกว่า Betel Nuts พืชที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจในยุคโบราณ
จนมีคำพูดที่กล่าวว่า ข้าวยากหมากแพง หมากมีบทบาทและมีความสำคัญต่อชีวิตในยุคก่อนมาก
หากหมากแพงทุกคนคงเดือดร้อน พอพอกับไม่มีข้าวทาน จึงอยากย้อนยุคชวนปลูกหมากประดับ
การขยายพันธุ์ของหมากเตี้ย
ใช้เมล็ด/การเพาะหมากง่าย ระวังอย่าให้แฉะ หมากเตี้ยที่เอามาเพาะงอกออกมา ปรากฏว่าได้ต้นหมากเตี้ยจริงๆ ไม่มาก น่าจะประมาณยี่สิบถึงสามสิบเปอร์เซนต์ แสดงว่าหมากเติ้ยเป็นสายพันธุ์ที่มียีนด้อย การคัดแยกทำได้ตั้งแต่เล็ก โดยการดูที่ก้านใบ ดูก้านใบที่มีลักษณะสั้นมากๆใบสั้นเป็นแผ่น หมากเจริญเติบโตดี ชอบความชุ่มชื้นแต่ต้องไม่มีน้ำขัง รับแสงแดดได้ แต่ความชื้นต้องพอ ที่ที่ดินร่วนซุย มีอินทรย์สารพอเพียง หมากจะมีใบเขียว สวยสด
ธาตุอาหารหลักที่หมากเตี้ยต้องการ
ประโยชน์ของหมากเตี้ย
นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ บริเวณบ้าน อาคาร สำนักงาน เป็นต้น
สรรพคุณทางยาของหมากเตี้ย
- ลูกอ่อน รสฝาดหวาน เจริญอาหาร ขับเสมหะ สมานแผล แก้เมา แก้อาเจียน แก้ไอ
- เปลือกผล รสจืดหวาน ขับลม ขับปัสสาวะ แก้ท้องอืดแน่น แก้บิด แก้ท้องเสีย
- เมล็ด รสฝาด แก้บิดปวดเบ่ง แก้ปวดแน่นท้อง ฆ่าพยาธิ ขับปัสสาวะ
คุณค่าทางโภชนาการของหมากเตี้ย
การแปรรูปของหมากเตี้ย
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11134&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com