เม่าไข่ปลา ผลรับประทานได้ มีรสเปรี้ยวและฝาด

เม่าไข่ปลา

ชื่ออื่นๆ : ขะเม่าผา, เม่าไข่ปลา, เม่าทุ่ง, มังเม่า, เม่าตาควาย, เม่าสร้อย, มะเม่าข้าวเบา

ต้นกำเนิด : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

ชื่อสามัญ : เม่าไข่ปลา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Antidesma ghaesembilla Gaertn

ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE

ลักษณะของเม่าไข่ปลา

ต้น เป็นไม้ยืนต้นอายุยืน แตกกิ่งก้านมาก กิ่งแขนงแตกเป็นพุ่มทรงกลม สูงประมาณ 5-10 เมตร เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดถึง 4 คนโอบ

ใบ เป็นใบเดี่ยว สีเขียวสด ผิวใบเรียบเป็นมันทั้ง 2 ด้าน ใบออกหนาแน่น เป็นร่มเงาได้ดี ดอกมีขนาดเล็กสีขาวอมเหลือง

ดอก ออกดอกเป็นช่อยาวตามปลายกิ่งและซอกใบ ช่อดอกคล้ายพริกไทย ลักษณะของดอกเป็นดอกแยกเพศ อยู่คนละต้น ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน

ผล ผลเป็นทรงกลม มีขนาดเล็กและเป็นพวง ผลดิบมีสีเขียวอ่อนหรือสีเขียวเข้ม มีรสเปรี้ยว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดงและม่วงดำ เมื่อสุกจะมีรสหวานอมเปรี้ยว และฝาด ผลออกเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม

เมล็ด เมล็ดกรุบกรับ ใน 1 ผลจะมี 1 เมล็ด เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง

เม่าไข่ปลา
เม่าไข่ปลา ใบสีเขียวสด ผิวเรียบเป็นมัน

การขยายพันธุ์ของเม่าไข่ปลา

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่เม่าไข่ปลาต้องการ

ประโยชน์ของเม่าไข่ปลา

ผลรับประทานได้ มีรสเปรี้ยว โดยรับประทานเป็นผลไม้สดหรือแปรรูป

สรรพคุณทางยาของเม่าไข่ปลา

  • ป้องกันมะเร็ง
  • ชะลอความชรา
  • ป้องกันโรคหัวใจล้มเหลว เป็นยาอายุวัฒนะ
  • บำรุงสายตา
  • แก้กษัย
  • ขับโลหิต
  • เป็นยาระบาย
  • ขับปัสสาวะ
  • แก้มดลูกพิการ
  • รักษาแผล ฝีหนอง
ผลเม่าไข่ปลา
ผลเม่าไข่ปลา ผลกลมเล็ก ผลดิบสีเขียวอ่อนหรือสีเขียวเข้ม ผลสุกเป็นสีแดงและม่วงดำ

คุณค่าทางโภชนาการของเม่าไข่ปลา

อุดมด้วยคุณค่าทางอาหารแร่ธาตุและวิตามิน เช่น แคลเซี่ยม เหล็ก วิตามิน บี 1 บี 2 วิตามินซี วิตามินอี ในปริมาณและมีคุณค่าสูง เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ

การแปรรูปของเม่าไข่ปลา

การรับประทาน ผลดิบสีเขียวอ่อน ประกอบอาหารคล้ายส้มตำ ผลแก่สีแดงมีรสเปรี้ยว ส่วนผลแก่จัดสีดำม่วง จะมีรสหวานอมเปรี้ยว รับประทานเป็นผลไม้สด และนำมาแปรรูปเช่น น้ำผลไม้  ไวน์เม่า แยม กวน  สีธรรมชาติผสมอาหาร เป็นต้น

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9319&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment