ว่านตูบหมูบ ไม้ล้มลุก ลำต้นคลุมดิน มีเหง้าใต้ดิน

ว่านตูบหมูบ

ชื่ออื่นๆ : ตูบหมูบ, ว่านตูบหมูบ (อุบลราชธานี, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เปราะเถื่อน (ปราจีนบุรี, ชุมพร) เปราะ, หัวหญิง (กระบี่) เปราะเขา, เปราะป่า

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : เปราะป่า

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Kaempferia marginata Carey

ชื่อวงศ์ : Zingiberaceae

ลักษณะของว่านตูบหมูบ

ต้น เป็นไม้ล้มลุก ลำต้น คลุมดิน เป็นไม้ลงหัว เป็นพืชที่สะสมอาหารในดินเรากเป็นกระจุก หัวเปราะป่า หรือเหง้าสั้น และมีขนาดเล็ก ลักษณะของเหง้าเป็นรูปทรงกลม สีน้ำตาล ที่ผิวมีรอยข้อปล้อง

ใบ ใบอ่อนม่วนใบเป็นกระบอกออกมาแล้วแผ่ราบหน้าดิน ต้นหนึ่งๆ มักมี 1-2 ใบ ทรงกลมโตยาว ประมาณ 5-10 ซม. หน้าใบเขียว มีกลิ่นหอม หัวกลมเหมือนหัวกระชาย  รสชาติ รสหอมสุขุม

ดอก ช่อดอกแทงออกมาจากตรงกลางระหว่างกาบใบทั้งสอง

ว่านตูบหมูบ
ว่านตูบหมูบ ใบทรงกลม หน้าใบเขียว

การขยายพันธุ์ของว่านตูบหมูบ

ใช้ลำต้นใต้ดิน

ธาตุอาหารหลักที่ว่านตูบหมูบต้องการ

ประโยชน์ของว่านตูบหมูบ

  • น้ำคั้นจากใบและเหง้าใช้ป้ายคอ เพื่อบรรเทาอาการเจ็บคอ ใช้ล้างศีรษะ
  • ดอกรสหอมร้อน แก้ตาอักเสบ ตาแฉะ

สรรพคุณทางยาของว่านตูบหมูบ

เปราะป่าเป็นพืชสมุนไพร ตำรายาไทยใช้ เหง้าใต้ดิน แก้ไข้ แก้หวัด แก้กำเดา ขับลมในลำไส้ ตำผสมกับหัวหอม สุมกระหม่อมเด็ก แก้หวัด แก้กำเดา ทางภาคอีสาน ใช้ เหง้าใต้ดิน ตำพอก แก้อาการอักเสบ เนื่องจากแมลงสัตว์ กัดต่อย หรือผสมใบหนาดใหญ่ ต้มน้ำดื่ม แก้อัมพาต ทางจังหวัดมุกดาหารใช้เข้าตำรับยาอายุวัฒนะ ทางจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ หัว มีกลิ่นหอม รสร้อน ขมจัด ทำลูกประคบ แก้ฟกช้ำ ใช้แก้ไข้ แก้หวัด แก้กำเดา ขับลมในลำไส้

คุณค่าทางโภชนาการของว่านตูบหมูบ

การแปรรูปของว่านตูบหมูบ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11893&SystemType=BEDO
https://th.wikipedia.org
https://www.flickr.com

Add a Comment