หางนกยูงฝรั่ง
ชื่ออื่นๆ : นกยูงฝรั่ง อินทรี (ภาคกลาง) ส้มพอหลวง (ภาคเหนือ) หงอนยูง (ภาคใต้)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : Flambuoyant tree, Flame of the forest, Peacock flower
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Delonix regia (Bojer Ex Hook.) Rafin
ชื่อวงศ์ : Leguminosae – Caesalpinioideae
ลักษณะของหางนกยูงฝรั่ง
ต้น ไม้ต้นผลัดใบ สูง 10-18 ม. เปลือกต้นสีเทาเกลี้ยง เรือนยอดแผ่กว้างและกลมคล้ายร่มดินทั่วไป
ใบ ใบเรียงเวียนสลับ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบย่อยขนาดเล็กและมีจำนวนมาก
ดอก ดอกช่อออกที่ปลายกิ่งหรือกิ่งข้าง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน กลีบดอก 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน สีแดงอมส้ม สีส้ม สีเหลือง เกสรเพศผู้มี 10 อัน อยู่แยกอิสระ เมื่อดอกบานเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10 ซม. ออกดอกเดือนเมษายน-มิถุนายน
ผล ผลเป็นฝักใหญ่ แบน แข็ง กว้าง 3-5 ซม. ยาว 30-60 ซม. ฝักเมื่อแก่จะแตก เมล็ดเรียงตามขวาง มี 20-40 เมล็ด

การขยายพันธุ์ของหางนกยูงฝรั่ง
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่หางนกยูงฝรั่งต้องการ
ประโยชน์ของหางนกยูงฝรั่ง
นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เมล็ดอ่อนสามารถนำมารับประทานสดได้ แต่ถ้าเป็นเมล็ดแก่ต้องนำมาทำให้สุกก่อนจึงจะสามารถรับประทานได้ เนื่องจากเมล็ดแก่มีสารประกอบบางชนิดที่เป็นพิษ และจะถูกทำลายได้โดยความร้อน

สรรพคุณทางยาของหางนกยูงฝรั่ง
- ลำต้นนำมาฝนใช้ทาแก้พิษ ถอนพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย
- รากใช้เป็นยาขับโลหิตสตรี
คุณค่าทางโภชนาการของหางนกยูงฝรั่ง
การแปรรูปของหางนกยูงฝรั่ง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11422&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com/