หางนกยูงไทย ประโยชน์และสรรพคุณทางยา

หางนกยูงไทย

ชื่ออื่นๆ : หางนกยูงไทย, จำพอ, ซำพอ, ซมพอ, ส้มผ่อ, นกยูงไทย, หนวดแมว

ต้นกำเนิด : อเมริกาใต้

ชื่อสามัญ : Barbados  Pride , peacock  Flower

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia pulcherrima (L.) Sw.

ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE

ลักษณะของหางนกยูงไทย

ต้นหางนกยูงไทย ไม้พุ่ม สูง 3-4 ม. ลำต้นเกลี้ยงหรือมีหนาม แตกกิ่งก้านสาขาจำนวนมาก เรือนยอดโปร่ง ใบประกอบแบบขนนกสองชั้นปลายคู่ เรียงสลับมีใบย่อย 7-11 คู่ ใบย่อยออกเป็นคู่เรียงตรงข้ามกัน รูปรีแกมขอบขนานหรือรูปไข่กลับ ปลายใบมนหรือเว้า ฐานใบมนหรือเบี้ยว ขอบใบเรียบ ผิวด้านหลังใบสีเข้มกว่าด้านท้อง ดอก ช่อออกบริเวณซอกใบ ปลายกิ่ง หรือส่วนยอดของต้น ดอกมีหลายสีตามพันธุ์ กลีบดอก 5 กลีบ กลีบใหญ่ 4 กลีบ กลีบเล็ก 1 กลีบ รูปช้อน ขอบกลีบหยักเป็นคลื่น เกสรเพศผู้ 10 อัน เกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่อยู่เหนือฐานรองดอก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ โคนเชื่อม ปลายแยก

ต้นหางนกยูงไทย
ต้นหางนกยูงไทย ลำต้นเกลี้ยงหรือมีหนาม

ประโยชน์ของหางนกยูงไทย

  • นิยมปลูกไว้เป็นไม้ดอกไม้ประดับ
  • เมล็ดในฝักดิบกินได้ โดยแกะเปลือกหุ้มเมล็ด ซึ่งมีรสฝาดทิ้งเนื้อในมีรสหวานมันเล็กน้อย
ดอกหางนกยูงไทย
ดอกหางนกยูงไทย ดอกสีเหลือง สีส้ม กลีบใหญ่เล็กรูปซ้อน

สรรพคุณทางยาของหางนกยูงไทย

  • ใบ สามารถไล่แมลงหวี่ได้ อาจใช้วิธีการจุดไฟจากใบที่แห้ง เพื่อให้เกิดควัน
  • ดอก (สีเหลือง) สามารถนำมาต้มน้ำ บรรเทาอาการปวดฟัน
  • ราก แก้อาการบวม ใช้ปรุงเป็นยาขับประจำเดือน
  • ราก มีรสเฝื่อน เป็นยาขับระดู แก้วัณโรคระยะบวม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11409&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment