หางนกยูง ส้มพอ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับให้ร่มเงาได้ เมล็ดทานได้

หางนกยูง ส้มพอ พญาไม้ผุ ขวางยอย

ชื่ออื่นๆ : หางนกยูงไทย, จำพอ, ซำพอ, ซมพอ, ส้มผ่อ, นกยูงไทย, หนวดแมว

ต้นกำเนิด : อเมริกาใต้

ชื่อสามัญ : Barbados Pride , peacock Flower

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia pulcherrima (L.) Sw.

ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE / CASALPI-NIACEAE

ลักษณะของหางนกยูง ส้มพอ

ต้น ไม้พุ่ม สูง 3-4 ม. ลำต้นเกลี้ยงหรือมีหนาม แตกกิ่งก้านสาขาจำนวนมาก เรือนยอดโปร่ง

ใบ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้นปลายคู่ เรียงสลับมีใบย่อย 7-11 คู่ ใบย่อยออกเป็นคู่เรียงตรงข้ามกัน รูปรีแกมขอบขนานหรือรูปไข่กลับ ปลายใบมนหรือเว้า ฐานใบมนหรือเบี้ยว ขอบใบเรียบ ผิวด้านหลังใบสีเข้มกว่าด้านท้อง

ดอก ช่อออกบริเวณซอกใบ ปลายกิ่ง หรือส่วนยอดของต้น ดอกมีหลายสีตามพันธุ์ กลีบดอก 5 กลีบ กลีบใหญ่ 4 กลีบ กลีบเล็ก 1 กลีบ รูปช้อน ขอบกลีบหยักเป็นคลื่น เกสรเพศผู้ 10 อัน เกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่อยู่เหนือฐานรองดอก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ โคนเชื่อม ปลายแยก

ผล ออกผลเป็นฝักแบน ฝักมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-12 เซนติเมตร เมื่อฝักแก่แล้วจะแตกออก ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 8-10 เมล็ด เมล็ดมีรูปร่างกลม

ต้นหางนกยูงไทย
ต้นหางนกยูงไทย ลำต้นเกลี้ยงหรือมีหนาม
ดอกหางนกยูง
ดอกหางนกยูง ดอกสีส้ม สีเหลือง

การขยายพันธุ์ของหางนกยูง ส้มพอ

การใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่หางนกยูง ส้มพอต้องการ

เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดดจัด ปลูกง่ายและขึ้นง่าย ปลูกได้ในดิน ทุกชนิดและยังทนทานอีกด้วย ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง

ประโยชน์ของหางนกยูง ส้มพอ

  • นิยมปลูกเป็นไม้ประดับให้ร่มเงาได้
  • เมล็ดใช้ประกอบอาหาร เช่น ต้มนำตาลราดกระทิ เป็น ขนมหวาน
  • เมล็ดในฝักรับประทานได้โดยแกะเปลือกกับเมล็ดซึ่งมีรสฝาดทิ้งไป เนื้อในมีรสหวานมันเล็กน้อย
  • ใบนำมาวางตามห้องหรือใกล้ตัวเพื่อป้องกันแมลงหวี่ หรือใช้ใบแห้งนำมาจุดไฟให้มีควันเพื่อไล่แมลงหวี่ได้
ผลหางนกยูง
ผลหางนกยูง ผลเป็นฝักแบน

สรรพคุณทางยาของหางนกยูง ส้มพอ

  • ราก ของต้นดอกสีแดง ปรุงเป็นยา รับประทานขับประจำเดือน
  • ดอกหางนกยูงสีเหลืองสามารถนำมาต้มกับน้ำ แล้วใช้อมเพื่อบรรเทาอาการปวดฟันได้

คุณค่าทางโภชนาการของหางนกยูง ส้มพอ

การแปรรูปของหางนกยูง ส้มพอ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9367&SystemType=BEDO
www.flickr.com

One Comment

Add a Comment