หางไหลขาว ยานาเละ (มลายู-นราธิวาส)
ชื่ออื่นๆ : ยานาเละ (มลายู-นราธิวาส)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : สมุนไพรหางไหลขาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Derris malaccensis Prain
ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE – PAPILIONOIDEAE
ลักษณะของหางไหลขาว ยานาเละ (มลายู-นราธิวาส)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้เถาขนาดกลางถึงใหญ่ ใบประกอบรูปหอก ปลายกว้างแหลม โคนสอบแคบใบย่อยราว 7 ใบ ใบอ่อนสีเหลืองอ่อนออกเขียว ใบแก่สีเขียว ดอกเล็กสีชมพูเป็นช่อฝักแบนไม่ยาวนัก มียางขาวขัน พบตามรินน้ำลำธาร ป่าดงดิบเขา ป่าเบญจพรรณทั่วไป ในเขตวนอุทยานถ้ำเพชร ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
ส่วนที่ใช้ : ราก
การขยายพันธุ์ของหางไหลขาว ยานาเละ (มลายู-นราธิวาส)
ใช้ส่วนอื่นๆ/-
ธาตุอาหารหลักที่หางไหลขาว ยานาเละ (มลายู-นราธิวาส)ต้องการ
ประโยชน์ของหางไหลขาว ยานาเละ (มลายู-นราธิวาส)
รากใช้เป็นยาฆ่าแมลงตัวหนอนที่เกาะกินผัก ด้วยการนำรากมาทุบ ๆ ผสมกับน้ำ พอให้ขุ่นขาว แล้วนำมารดพืชผักในสวนผัก จะช่วยฆ่าแมลงและตัวหนอนได้ และใช้เป็นยาเบื่อปลาได้อีกด้วย
สรรพคุณทางยาของหางไหลขาว ยานาเละ (มลายู-นราธิวาส)
ส่วนที่ใช้ : ราก
สรรพคุณ : ยางจากราก
– ฆ่าแมลงตัวหนอนที่เกาะกินผัก เบื่อปลา
– รสเอียนเล็กน้อย ถ่ายเส้นเอ็น (ทำให้เส้นอ่อน)
– ถ่ายผายลม ถ่ายเสมหะและโลหิต
– ใช้ปรุงเป็นยาขับระดู แก้ระดูเป็นลิ่มเป็นก้อนเน่าเหม็น
– ใช้ผสมกับสบู่และน้ำสำหรับฆ่าสัตว์ เช่น หิดและเหาได้ดี
วิธีใช้ : ใช้รากทุบๆ ผสมน้ำ พอขุ่นขาว รดผัก ตามสวนผัก ฆ่าแมลงและตัวหนอน
คุณค่าทางโภชนาการของหางไหลขาว ยานาเละ (มลายู-นราธิวาส)
การแปรรูปของหางไหลขาว ยานาเละ (มลายู-นราธิวาส)
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11655&SystemType=BEDO
https://oer.learn.in.th