หิรัญญิการ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ Beaumontia grandiflora Wall. ดอกสีขาวนวลแผ่กว้าง

หิรัญญิการ์

ชื่ออื่นๆ : เถาตุ้มยำช้าง (ภาคเหนือ)

ต้นกำเนิด : จีน อินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น กัมพูชา ไทย มาเลเซีย ลาว เวียดนาม

ชื่อสามัญ : Herald trumpet

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Beaumontia grandiflora Wall.

ชื่อพ้อง : Beaumontia longiflora Hook.f., Beaumontia longifolia Lodd. ex Loudon, Echites grandiflorus Roxb.

ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE

ลักษณะของหิรัญญิการ์

ต้นหิรัญญิการ์  ไม้เถาเนื้อแข็ง มีน้ำยางสีขาวคล้ายน้ำนม ลำเถาเลื้อยพาดพันไปตามพุ่มไม้และเรือนยอดของต้นไม้สูงๆ

ใบหิรัญญิการ์  ใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ตรงข้าม รูปไข่กลับถึงรูปรี กว้าง 3-11 ซม. ยาว 8-29 ซม. ใบอ่อนมีขน ใบแก่มักเรียบเกลี้ยง

ต้นหิรัญญิการ์
ต้นหิรัญญิการ์ ไม้เถาเนื้อแข็ง มีน้ำยางสีขาวคล้ายน้ำนม

ดอกหิรัญญิการ์ ดอกสีขาวนวล ออกเป็นช่อสั้นที่ปลายกิ่ง มีกลิ่นหอมอ่อน ดอกย่อยบานไม่พร้อมกัน ขนาดบานเต็มที่กว้างถึง 10 ซม. กลีบรองดอกรูปไข่ ปลายแหลม กลีบดอกแผ่กว้าง เชื่อมกันคล้ายรูปลำโพง ปลายแยกเป็น 5 กลีบ เกสรผู้ 5 อัน อยู่ในหลอดกลีบดอก รังไข่มีขนปกคลุม

ดอกหิรัญญิการ์
ดอกหิรัญญิการ์ ดอกสีขาวนวล กลีบดอกแผ่กว้าง มีกลิ่นหอมอ่อน

ผลหิรัญญิการ์ ผลเป็นฝักขนาดใหญ่ รูปรี กว้าง 5-6 ซม. ยาว 20-30 ซม. ปลายมนทู่ เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดมีจำนวนมาก ส่วนปลายมีขนยาวอ่อนนุ่มติดอยู่ เป็นกระจุก

ผลหิรัญญิการ์
ผลหิรัญญิการ์ เป็นฝักขนาดใหญ่ รูปรี ปลายมนทู่

การขยายพันธุ์ของหิรัญญิการ์

การเพาะเมล็ด, ปักชำ หรือตอนกิ่ง ต้องใช้ฮอร์โมนในการเร่งการออกราก เวลาที่ใช้ประมาณ 2 เดือน ดังนั้นถุงที่ใช้ทำตุ้มตอนควรเป็นถุงที่หนากว่าปกติ

ธาตุอาหารหลักที่หิรัญญิการ์ต้องการ

ชอบขึ้นอยู่ตามชายป่าดิบ หรือป่าเบญจพรรณใกล้ลำธาร ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันตกเฉียงใต้

ประโยชน์ของหิรัญญิการ์

นิยมปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป

สรรพคุณของหิรัญญิการ์

เมล็ด เป็นยาบำรุงหัวใจ เนื่องจากมีสารจำพวก “คาร์ดีโนไลด์” หากรับประทานมากอาจถึงตายได้

คุณค่าทางโภชนาการของหิรัญญิการ์

การแปรรูปหิรัญญิการ์

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.rpplant.royalparkrajapruek.org, www.flickr.com

One Comment

Add a Comment