ต้อยตั่ง หรือ ผักดีด เป็นผักรับประทานและพืชสมุนไพร

ต้อยตั่ง

ชื่ออื่นๆ : ปิงปัง, หญ้าดีดไฟ, ต้องตั่ง, ผักดีด(เหนือ)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : ผักดีด

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Solanum spirale Roxb.

ชื่อพ้อง : Solanum apoense Elmer, Solanum callium R.J.F. Hend., Solanum spirale var. tetrasepalum H.J. Chu, Solanum superficiens Adelb.

ชื่อวงศ์ : SOLANACEAE

ลักษณะของต้อยตั่ง

ต้นต้อยตั่ง  เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นแข็งตั้งตรง มีข้อห่าง สูงประมาณ 1–3 ม.

ใบต้อยตั่ง  ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปวงรีหรือวงรีแกมรูปไข่กลับ ใบกว้าง 5–8 ซม. ยาว 9–15 ซม. ยอดอ่อนมีรสขมอมหวาน

ดอกต้อยตั่ง  ช่อดอกกระจะ ออกเหนือซอกใบ ก้านดอกยาว กลีบดอกสีขาว

ผลต้อยตั่ง ผลรูปทรงกลม ผิวเรียบสีเขียวออกเป็นช่อคล้ายมะเขือพวง เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้ม

ต้อยตั่ง
ต้นต้อยตั่ง ลำต้นแข็งตั้งตรง มีข้อห่าง
ดอกผักต้อยตั่ง
ดอกผักต้อยตั่ง กลีบดอกสีขาว ออกเหนือซอกใบ

การขยายพันธุ์ของต้อยตั่ง

การเพาะเมล็ด, การปักชำ

กระจายพันธุ์ในเอเชียตะวันออก – จีนตอนใต้ อินเดีย บังคลาเทศ ไทย ลาว ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย

ธาตุอาหารหลักที่ต้อยตั่งต้องการ

ขึ้นได้ดีในดินร่วน ระบายน้ำดี แสงแดดรำไร

ประโยชน์ของต้อยตั่ง

ผลต้อยตั่ง
ผลต้อยตั่ง ผลดิบสีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้ม

สรรพคุณของต้อยตั่ง

  • ราก ใช้ร่วมกับตะไคร้ ฝนแล้วผสมน้ำ ดื่มน้ำ แก้อาการพิษ จากอาหาร เช่น กินเห็ดพิษ(คนเมือง)
  • ใบ นำไปย่างไฟให้นุ่ม เคี้ยวให้ละเอียด ดื่มน้ำอุ่นตาม ช่วยแก้ไข้ แก้จุกเสียด แน่นท้อง หรือใช้เข้าตำรับยาแก้ไข้
  • ใบและลำต้น ใช้เข้าตำรับยาแก้นิ้ว แก้ไข้ แก้อาหารเป็นพิษ ท้องร่วง

คุณค่าทางโภชนาการของต้อยตั่ง

การแปรรูปต้อยตั่ง

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.rpplant.royalparkrajapruek.org, FB ชุมชนคนรักษ์พรรณไม้

One Comment

Add a Comment