ห้อมช้าง ใบมีสรรพคุณแก้ปัสสาวะขัด

ต้นห้อมช้าง

ชื่ออื่นๆ : ห้อมช้าง (เชียงใหม่) จอ ดู กุ (กะเหรี่ยงสะกอ) เจาะ ตะ โกะ (กะเหรี่ยงสะกอ) จอ ดู กุ  (กะเหรื่ยงสะกอ)

ต้นกำเนิด : พบที่อินเดีย ภูฏาน จีนตอนใต้ พม่า ลาว และเวียดนาม ในไทยพบมากทางภาคเหนือ

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phlogacanthus curviflorus (Wall.) Nees

ชื่อวงศ์ : ACANTHACEAE

ลักษณะของห้อมช้าง

ต้น  ไม้พุ่ม สูง 1-2 ม. ลำต้นกลวง

ต้นห้อมช้าง
ต้นห้อมช้าง เป็นไม้พุ่มสูง ลำต้นกลวง

ใบ ใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ตรงข้าม รูปรีแกมไข่กว้าง กว้าง 12 ซม. ยาว 30 ซม. ก้านใบ ยาว 5-6 ซม.

ใบห้อมช้าง
ใบห้อมช้าง รูปรีแกมไข่กว้าง

ดอก ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด ตั้งขึ้น สีส้มแดงหรือแดงอิฐ กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน สีเขียว มีขนนุ่ม กลีบดอกเป็นหลอดโค้ง ยาว 5-6 ซม. ด้านนอกมีขนแน่น ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบโค้งออกด้านนอก เกสรเพศผู้ 2 อัน ออกดอกและติดผลเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม

ดอกห้อมช้าง
ดอกห้อมช้าง ดอกสีส้มแดงหรือแดงอิฐ

ผล ผลแห้งแก่แล้วแตก รูปรียาว มีสันสี่เหลี่ยม กว้าง 0.4-0.6 ซม. ยาว 3.2-3.5 ซม. เมล็ด 12-14 เมล็ด

การขยายพันธุ์ของห้อมช้าง

การปักชำ

ธาตุอาหารหลักที่ห้อมช้างต้องการ

ประโยชน์ของห้อมช้าง

  • ช่อดอก หมกไฟจิ้มน้ำพริก (กะเหรี่ยงสะกอ บ้านห้วยน้ำฮู)
  • ช่อดอก ลวกจิ้มน้ำพริก (กะเหรี่ยงสะกอ บ้านห้วยฮี้)

สรรพคุณทางยาของห้อมช้าง

  • ใบ ตำพอกบริเวณ ฟกช้ำ ปวด หรือเผาแล้วนั่งทับแก้ปัสสาวะขัด (บ้านปู่โต๊ะ อ.เชียงดาว ชม.)
  • ใบ ลนไฟหรือต้มทาบริเวณที่ผิวหนังที่คัน (กะเหรี่ยงสะกอ บ้านห้วยน้ำฮู)
  • ดอก บำรุงกำลัง ใช้ร่วมในเครื่องเทศ

คุณค่าทางโภชนาการของห้อมช้าง

การแปรรูปของห้อมช้าง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.qsbg.org, www.th.wikipedia.org
ภาพประกอบ : www.flickr.com

2 Comments

Add a Comment