อุตพิต
ชื่ออื่นๆ : อุตพิต (กลาง) มะโหรา (จันทบุรี) บอนแก้ว (เชียงใหม่)
ต้นกำเนิด : เขตร้อนของทวีปเอเชีย พบขึ้นทั่วไปในที่ร่มเย็น
ชื่อสามัญ : Cuckoo-pint , Lords-and-Ladies
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Typhonium trilobatum Schott
ชื่อวงศ์ : Araceae
ลักษณะของอุตพิต
ต้น ไม้ล้มลุก มีลำต้นอยู่ใต้ดินมีลักษณะเป็นหัว ชูส่วนของก้านและใบเจริญขึ้นมาเป็นกอ
ใบ ใบมีขนาดใหญ่แผ่กว้างขอบแบ่งออกเป็น 3 แฉก ย่นเป็นลอนเล็กน้อย ใบมีสีเขียว ก้านใบยาวสีเขียวมีลายหรือจุดประสีม่วง
ดอก ดอกเป็นชนิดสปาดิกซ์ (spadix) คล้ายดอกหน้าวัว มีจานรองดอก (spathe) ขนาดใหญ่ ด้านนอกมีสีเขียวอ่อน หรือเขียวปนน้ำตาล ด้านในหรือด้านบนเป็นสีม่วงคล้ำ ปลีดอกมีกาบหุ้มสีแดง เมื่อบานจะเห็นดอกสีเหลืองอ่อนหรือสีขาว มีกลิ่นเหม็น ยาวประมาณ 6-15 ซม. ดอกบานแล้วติดเป็นผลรูปขอบขนาน
ผล ภายในมีเมล็ด 1 เมล็ด พบขึ้นทั่วไปบริเวณที่มีร่มเงา ในสวนผลไม้ สวนพันธุ์ไม้ประดับหรือสนามหญ้า ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดและแยกส่วนหัว
การขยายพันธุ์ของอุตพิต
ใช้เมล็ด/ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดและแยกส่วนหัว
ธาตุอาหารหลักที่อุตพิตต้องการ
ประโยชน์ของอุตพิต
เป็นสมุนไพรแก้เถาดาลในท้อง เป็นน้ำมันใส่แผล แก้โรคริดสีดวงทวาร แก้พิษงูกัด
สรรพคุณทางยาของอุตพิต
- หัว ใช้เป็นยากัดเถาดาลในท้อง หุงเป็นน้ำมันใส่แผล กัดฝ้าหนองสมานแผล ปิ้งไฟใช้รับประทานได้ ราก มีฤทธิ์เป็นยากระตุ้น แก้โรคริดสีดวงทวาร รับประทานกับกล้วยใช้แก้โรคปวดท้อง ใช้ทาภายนอกและรับประทานแก้พิษงูกัด
- กาบ หั่นให้ละเอียดดองรับประทานเป็นอาหารผักได้
- ก้านใบ ลอกเปลือกออกใช้แกงส้มแบบเดียวกับแกงบอน
คุณค่าทางโภชนาการของอุตพิต
การแปรรูปของอุตพิต
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11719&SystemType=BEDO
www.flickr.com