อโศก หรือ ส้มสุก ใบอ่อนและดอกใช้ทำแกงส้มหรือลวกจิ้มน้ำพริก รสเปรี้ยวอมฝาด

อโศก

ชื่ออื่นๆ : โสกน้ำ (สุราษฎร์ธานี), ชุมแสงน้ำ (ยะลา), ส้มสุก (ภาคเหนือ), ตะโคลีเต๊าะ (มลายู-ปัตตานี), กาแปะห์ไอย์ (มลายู-ยะลา), อโศก, โศก, อโศกน้ำ, อโศกวัด เป็นต้น

ต้นกำเนิด : ประเทศอินเดีย

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Saraca indica L.

ชื่อวงศ์ : Fabaceae

ลักษณะของอโศก

ต้น : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงราว 10เมตร ไม่ผลัดใบ

ใบ : เป็นใบรวมปลายใบแหลม เนื้อใบบางและค่อนข้างยับย่น เส้นกลางใบและเส้นแขนงเป็นสีน้ำตาลอมแดง

ดอก : ดอกหอม ออกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ สีส้ม โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 กลีบ มีก้านเกสรเพศผู้ยื่นยาวจากดอกอย่างเด่นชัด กลิ่นหอมอ่อน ๆ ผลิบานช่วงต้นปี ราวเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์

ผล : เป็นฝักแบน ปลายมีติ่งแหลม เมื่อแก่สีน้ำตาลและแตกออกภายในมีเมล็ดรูปรีแบน

ต้นอโศกน้ำ
ต้นอโศกน้ำ ไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ
ใบอโศกน้ำ
ใบอโศกน้ำ ปลายใบแหลม เนื้อใบบางและค่อนข้างยับย่น

การขยายพันธุ์ของอโศก

การเพาะเมล็ดหรือการตอนกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่อโศกต้องการ

ประโยชน์ของอโศก

  • ปลูกประดับสวนกลางแจ้ง
  • ยอดอ่อนนำมาปรุงในซ่าผักร่วมกับผักอื่น ๆ เช่น ขี้ติ้ว ผักกาดจอง ชะมวง
  • ใบอ่อนและดอกใช้ทำแกงส้มหรือลวกจิ้มน้ำพริก รสเปรี้ยวอมฝาด
ดอกอโศกน้ำ
ดอกอโศกน้ำ ดอกสีส้ม โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด

สรรพคุณทางยาของอโศก

ดอกโสกมีรสหอมเปรี้ยว มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุ ยาแก้ไอ ขับเสมหะ

คุณค่าทางโภชนาการของอโศก

คุณค่าทางโภชนาการของส่วนที่รับประทานได้ ต่อ 100 กรัม จะประกอบไปด้วย
โปรตีน 2.1 กรัม
ไขมัน 1.7 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 14 กรัม
ใยอาหาร 1.2 กรัม
แคลเซียม 46 มิลลิกรัม
วิตามินซี 14 มิลลิกรัม

การแปรรูปของอโศก

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9953&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment