เกาลัดไทย
ชื่ออื่นๆ : เกาลัด เกาลัดเทียม เกาลัดเมือง บ่าเกาลัด
ต้นกำเนิด : จีนตอนใต้
ชื่อสามัญ : Chestnut
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sterculia monosperma Vent
ชื่อวงศ์ : STERCULIACEAE
ลักษณะของเกาลัดไทย
ไม้ต้น ไม่ผลัดใบ สูง 4-20 เมตร เปลือกสีน้ำตาลอ่อน เรียบหรือแตกเป็นร่องเล็กตามยาว
ใบเดี่ยว เรียงสลับ มักกระจุกที่ปลายกิ่ง รูปรีหรือรูปขอบขนาน กว้าง 5-15 ซม. ยาว 10-30 ซม. โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ผิวใบหนา มัน และเรียบหรือย่นเล็กน้อย ก้านใบยาว 2-10 ซม.
ดอกออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง แบบแยกแขนง แตกแขนงย่อยจำนวนมาก ยาวได้ถึง 35 ซม. ดอกย่อยเล็ก สีชมพูอมเขียว กลีบเลี้ยงโคนติดกัน ปลายแผ่ออกเป็นรูปกรวย แยกเป็น 5 แฉก แต่ละแฉกโค้งงุ้มและติดกันบริเวณปลายกลีบ ไม่มีกลีบดอก
ผลแห้งแล้วแตก รูปกระสวย เปลือกผลหนาสีส้มถึงแดงเข้ม เมื่อแก่จะปริแยกออกจากกันด้านหนึ่ง เมล็ด 1-3 เมล็ด ผิวเกลี้ยง สีน้ำตาลแดงถึงดำ เนื้อในสีขาวหรือเหลืองอ่อน
การขยายพันธุ์ของเกาลัดไทย
เพาะกล้าจากเมล็ด, การตอนกิ่ง
ธาตุอาหารหลักที่เกาลัดไทยต้องการ
ประโยชน์ของเกาลัดไทย
ปลูกเป็นไม้ประดับ ด้วยความสวยของ ใบ ดอก ผล เมล็ด และทรงพุ่ม เนื้อไม้นำไปทำเฟอร์นิเจอร์ได้
ผลกินได้เมื่อทำให้สุกด้วยการต้มหรือคั่ว
สรรพคุณทางยาของเกาลัดไทย
–
คุณค่าทางโภชนาการของเกาลัดไทย
การแปรรูปของเกาลัดไทย
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11193&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com
One Comment