เก๋ากี้
ชื่ออื่นๆ : โกจิเบอร์รี่, ฮ่วยกี้, เก๋ากี่
ต้นกำเนิด : ประเทศจีน
ชื่อสามัญ : เก๋ากี้
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lycium barbarum
ชื่อวงศ์ : SOLANACEAE
ลักษณะของเก๋ากี้
ต้น เป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 1-2 เมตร ตามซอกใบมีหนามแหลมคม
ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ออกเดี่ยวๆ หรือเป็นกระจุก รูปไข่ หรือรูปคล้ายสี่เหลี่ยมข้าวหลาม
ดอก เป็นดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ โคนกลีบดอกติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 กลีบ สีม่วง
ผล ผลสด เนื้อนุ่ม รูปรีแกมรูปไข่ขนาดเล็ก ยาว 1-2 ซม. เปลือกบางเรียบ ผลสุกเปลือกและเนื้อมีสีแดงสดรสชาติหวานหรือหวานอมเปรี้ยวแล้วแต่สายพันธุ์ ออกผลในช่วงฤดูหนาว (ต้นเดือนพฤศจิกายนจนถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์)
เมล็ด เมล็ดเล็ก มีจำนวนมาก สีขาว รูปไต เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 มม.
การขยายพันธุ์ของเก๋ากี้
การใช้เมล็ด, การปักชำกิ่ง
ธาตุอาหารหลักที่เก๋ากี้ต้องการ
ประโยชน์ของเก๋ากี้
- เก๋ากี้นั้นอุดมไปด้วยวิตามิน, แร่ธาตุ และสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายหลากหลายชนิด โดยเบื้องต้นมีแร่ธาตุมากกว่า 21 ชนิด ประกอบด้วย แคลเซียม, ซีงค์, ซีลีเนียม, เจอมีเนียม, ฟอสฟอรัส, วิตามิน ซี, วิตามิน บี 2, วิตามิน บี 1, วิตามิน บี 6 และวิตามิน เอ ยิ่งไปกว่านั้น เก๋ากี้ยังมีสามารถต้านอนุมูลอิสระจำนวนมากเป็นอันดับต้นๆเมื่อเทียบกับอาหาร และผลไม้ทั้งหมด
- นำมาตุ๋นกับเนื้อหมูหรือไก่ รับประทานกับสลัด รับประทานเป็นของว่างกับถั่วต่างๆ และนำมาดองเหล้า เป็นต้น
ข้อควรระวังในการรับประทานเก๋ากี้
เก๋ากี้มีสารอัลคาลอยด์ (Alkaloids) ตามธรรมชาติในปริมาณเล็กน้อย ดังนั้นจึงไม่ควรรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป โดยทั่วไปแล้วปริมาณที่แนะนำให้รับประทานต่อวันคือ 10-20 กรัมหรือประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ การรับประทานในปริมาณที่มากเกินไปจะก่อให้เกิดอาการคลื่นไส้และปวดท้องได้
สรรพคุณทางยาของเก๋ากี้
- ลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน
- ช่วยบำรุงสายตา
- ช่วยในการลดน้ำหนัก
- ช่วยให้ตับทำงานอย่างปกติ
- ช่วยให้หัวใจแข็งแรงทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
- ช่วยบำรุงสมอง แก้โรคอัลไซเมอร์
- ช่วยในการต้านมะเร็ง และหยุดการเติบโตของเซลล์มะเร็ง
- ช่วยบำรุงระบบภูมิคุ้มกัน
- อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ
- ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย
- บรรเทาอาการนอนไม่หลับ ปรับปรุงคุณภาพของการนอน
คุณค่าทางโภชนาการของเก๋ากี้
การแปรรูปของเก๋ากี้
นำเม็ดมาตากแห้งแล้วนำมาทำเป็นเครื่องดื่ม หรือใส่ในเมนูอาหารประเภท ตุ๋น ต้ม เป็นต้น
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10932&SystemType=BEDO
https://www.thaihealth.or.th
https:// th.anngle.org
https://www.flickr.com