เจตมูลเพลิงแดง ดอกสีแดง รากเป็นยาขมเจริญอาหาร

เจตมูลเพลิงแดง

ชื่ออื่นๆ : ปิดปิวแดง (ภาคเหนือ) ปิดปีแดง(เลย) ไฟใต้ดิน(ใต้) คุ้ยวู่ (กาญจนบุรี) อุบะกูจ๊ะ (มลายู-ปัตตานี)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : ndian leadwort, scarlet leadwort

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Plumbago indica L.

ชื่อวงศ์ : PLUMBAGINACEAE

ลักษณะของเจตมูลเพลิงแดง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 0.5-2 เมตร กิ่งก้านมักทอดยาว

ใบ : ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีแกมรูปไข่ ยาว 3-13 ซม. โคนใบมนหรือกลม ปลายใบแหลม ใบบาง

ดอก : ดอกออกเป็นช่อแบบช่อกระจะเชิงลด ยาว 20-90 ซม. ก้านช่อดอกยาว 1-3 ซม. มีดอกจำนวนมาก ใบประดับและใบประดับย่อยรูปไข่ขนาดเล็ก ยาว 0.2-0.3 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปใบหอก ยาว 0.8-0.9 ซม. มีต่อมทั่วไป ดอกสีแดงหรือม่วง หลอดกลีบดอกยาว 2-2.5 ซม. ปลายแยกเป็น 5 แฉก รูปไข่กลับ ยาวประมาณ 2 ซม. ปลายกลีบกลม เป็นติ่งหนามตอนปลาย เกสรเพศผู้ 5 อัน ติดตรงข้ามกลีบดอก อับเรณูยาวประมาณ 2 มม. รังไข่รูปรี ก้านเกสรเพศเมียมีหลายขนาด มีขนยาวที่โคน

ต้นเจตมูลเพลิงแดง
ต้นเจตมูลเพลิงแดง ไม้ล้มลุก กิ่งก้านทอดยาว

การขยายพันธุ์ของเจตมูลเพลิงแดง

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่เจตมูลเพลิงแดงต้องการ

ประโยชน์ของเจตมูลเพลิงแดง

ส่วนที่ใช้ : ราก
สรรพคุณ : เป็นยาขมเจริญอาหาร แก้ธาตุพิการ เป็นยาบำรุง เป็นยาขับประจำเดือน เป็นยาฆ่าเชื้อโรค

วิธีใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร
ใช้รากแห้งผสมกับ ผลสมอพิเภก ดีปลี ขิง อย่างละเท่าๆ กัน บดเป็นผงรวมกัน รับประทานกับน้ำร้อน ครั้งละ 2.5 กรัม ประมาณ 1 ช้อนแกง
ข้อควรระวัง – สตรีที่ตั้งครรภ์ไม่ควรใช้ยานี้

เป็นยาขับประจำเดือน
ใช้รากแห้ง 1-2 กรัม ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ 1/4 ถ้วยแก้ว

ดอกเจตมูลเพลิงแดง
ดอกเจตมูลเพลิงแดง ดอกสีแดง มีดอกจำนวนมาก

สรรพคุณทางยาของเจตมูลเพลิงแดง

คุณค่าทางโภชนาการของเจตมูลเพลิงแดง

การแปรรูปของเจตมูลเพลิงแดง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11664&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment