เตยปาหนัน เส้นใบนำมาถักสานเป็นผลิตภัณฑ์

เตยปาหนัน

ชื่ออื่นๆ : ต้นลำเจียก,  เตยทะเล,  ปะหนัน,  ปาแนะ

ต้นกำเนิด : พบขึ้นมากตามชายหาดใกล้ชายฝั่งทะเล

ชื่อสามัญ : เตยปาหนัน Seashore screwpine

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pandanus odoratissimus Linn.

ชื่อวงศ์ : PANDANACEAE

ลักษณะของเตยปาหนัน

ต้น ไม้พุ่ม สูง 5 – 10 เมตร แตกกิ่งก้าน จนมองดูเป็นกอ มีรากยึดเกาะ ลำต้นมีสีน้ำตาลอ่อน ชอบขึ้นตามชายทะเล

ใบ ใบเดี่ยว ใบยาวคล้ายหอก สีเขียว ขอบใบมีหนามแหลม ใบจะเรียงเวียนขึ้นไปจนถึงยอด คล้ายเตยเวียน มักจะออกใบถี่อยู่ปลายยอด เนื้อใบเหนียว

ดอก  ออกช่อติดกันแน่น เป็นช่อสั้น ๆ ออกตามซอกใบ ปลายกิ่ง สีขาว ถ้าต้นไหนมีดอกเพศผู้จะเรียกว่าลำเจียก ถ้ามีดอกเพศเมียจะเรียกว่าเตยทะเล

ผล  ผลอยู่รวมกันเป็นกระจุก มองดูคล้ายสับปะรดรูปปรี เมื่อแก่ผลจะเป็นสีแสด

เตยปาหนัน
เตยปาหนัน ต้นเป็นกอ ใบมีลักษณะยาวเรียว มีหนามหนา

การขยายพันธุ์ของเตยปาหนัน

ใช้หัว/เหง้า/หน่อ/ขยายพันธ์ด้วยหน่อ

ธาตุอาหารหลักที่เตยปาหนันต้องการ

ขึ้นได้ดีในดินทราย ทนน้ำขังแฉะ น้ำเค็ม มีรากค้ำจุนทำให้ทนต่อลม ชอบแสงแดดจัด

ประโยชน์ของเตยปาหนัน

  • ปลูกเป็นไม้ประดับ ชาวบ้านชอบปลูกเพื่อบังลมเพราะทนต่อลมแรงและอากาศแล้ง
  • ใช้ใบสานเป็นเสื่อ และเครื่องใช้ประเภทจักสาน

สรรพคุณทางยาของเตยปาหนัน

คุณค่าทางโภชนาการของเตยปาหนัน

การแปรรูปของเตยปาหนัน

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10985&SystemType=BEDO
www.rspg.or.th, www.flickr.com

Add a Comment