เถางูเขียว เป็นเถาเลื้อยยาวไม่มีใบ ดอกมีกลิ่นหอม

เถางูเขียว

ชื่ออื่นๆ : คดนกกูด (พังงา, สุราษฎร์ธานี)  เครืองูเขียว (นครราชสีมา, หนองคาย)

ต้นกำเนิด : พบเกือบทุกภาค

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vanilla aphylla Rolfe

ชื่อวงศ์ : Epidendroideae

ลักษณะของเถางูเขียว

เถางูเขียว จัดเป็นกล้วยไม้ที่แปลก คือมีต้นลักษณะเป็นเถาเลื้อยยาวมากไม่มีใบ ต้นเป็นลำเกือบกลม หรือแบนเล็กน้อย และเป็นสี่เหลี่ยมขอบมน ผิวต้นเกลี้ยง สีเขียวเข้ม ปล้องยาวได้ถึง 50 ซม. กว้าง 0.5 – 1 ซม. รากออกที่ข้อ เห็นได้ยากในธรรมชาติ ดูกลมกลืนคล้ายเถาวัลย์ในป่า จะสังเกตุได้ง่ายคือช่วงฤดูดอกเท่านั้น ลักษณะดอกมีกลีบเลี้ยงสีขาว กลีบปากสีชมพู ที่กลีบปากมีขนฟูสวยงามมาก ดอกออกตามข้อเป็นช่อสั้น จำนวนดอกในช่อ 2 – 3 ดอก ขนาดดอกประมาณ 3 – 4 ซม. ดอกมีกลิ่นหอม
กล้วยไม้ชนิดนี้สังเกตได้ยากในธรรมชาติ นอกจากในระยะที่มีดอก

ต้นเถางูเขียว
ต้นเถางูเขียว ต้นเป็นเถาเลื้อยยาวไม่มีใบ
ดอกเถางูเขียว
ดอกเถางูเขียว ดอกมีกลีบเลี้ยงสีขาว กลีบปากสีชมพู

การขยายพันธุ์ของเถางูเขียว

การเพาะเมล็ด, แยกกอ, เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

ธาตุอาหารหลักที่เถางูเขียวต้องการ

ประโยชน์ของเถางูเขียว

เป็นไม้ประดับ

สรรพคุณทางยาของเถางูเขียว

คุณค่าทางโภชนาการของเถางูเขียว

การแปรรูปของเถางูเขียว

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10797&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment