เทียนสัตตบุษย์ พืชล้มลุก ต้นมีลักษณะคล้ายกับต้นผักชีไทย

เทียนสัตตบุษย์

ชื่ออื่นๆ : อาหนี, เสียวหุยเซียง, โอวโจวต้าหุยเซียง(จีนกลาง)

ต้นกำเนิด : แถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

ชื่อสามัญ : เทียนสัตตบุษย์

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pimpinella anisum L.

ชื่อวงศ์ : Apiaceae

ลักษณะของเทียนสัตตบุษย์

ต้น  จัดเป็นพืชล้มลุกอายุประมาณหนึ่งปีมีความสูงโดยเฉลี่ยไม่เกิน 1 เมตร กิ่งและก้านเป็นสีเขียว รูปทรงกลมผิวมีร่องหรือเหลี่ยมมีลักษณะคล้ายกับต้นผักชีไทย

ใบ  ใบเป็นใบเดี่ยวแทงขึ้นมาจากรากใต้ดิน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่เหมือนพัด ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ก้านใบยาวประมาณ 2-5 เซนติเมตร ส่วนที่แตกจากกิ่งช่วงยอดต้นเป็นรูปแฉกยาวมีใบประกอบ 3 ใบ แบบขนนก ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย

ดอก  ออกดอกเป็นช่อคล้ายก้านซี่ร่ม หลายชั้น ดอกย่อยมีขนาดเล็กสีเหลืองหรือสีขาว มีกลีบดอก 5 กลีบ ส่วนกลีบเลี้ยงดอกเป็นสีเขียวมีขนาดเล็ก ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 ตัว ติดอยู่บนฐานรอบดอก เรียงสลับกับกลีบดอก มีรังไข่ 5 ห้อง อยู่ต่ำกว่า

ผล  ผลมีลักษณะเป็นรูปยาวรีกลม คดงอเล็กน้อย มีร่องยาวตลอดเมล็ด ผิวมีขนสั้นๆ สีน้ำตาลอมเขียวปนเทา ขนาดกว้าง 1.3-1.8 มิลลิเมตร ยาว 3.4-5.0 มิลลิเมตร ด้านนอกนูน ด้านในที่ประกบกันมีลักษณะนูนเล็กน้อย ด้านที่นูนมีสันตามแนวยาวเมล็ด จำนวน 3 เส้น ด้านแนวเชื่อม 2 เส้น ผลมีกลิ่นหอมเผ็ดร้อนเล็กน้อย ผลแก่แห้งแล้วแตกแยกเป็น 2 ส่วน แต่ละส่วนมี 1 เมล็ด เมล็ดมีสีน้ำตาล ขนาดกว้าง 1.3-1.8 มิลลิเมตร ยาว 3.4-5.0 มิลลิเมตร

ดอกเทียนสัตตบุษย์
ดอกเทียนสัตตบุษย์ ดอกเป็นช่อคล้ายก้านซี่ร่ม สีขาว

การขยายพันธุ์ของเทียนสัตตบุษย์

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่เทียนสัตตบุษย์ต้องการ

ประโยชน์ของเทียนสัตตบุษย์

สรรพคุณทางยาของเทียนสัตตบุษย์

  • เมล็ด รสเผ็ดหอมหวานเล็กน้อยแก้ลมครรภ์รักษา แก้พิษระส่ำระสาย แก้อาการหอบ และสะอึก แก้ไข้ แก้ไอ แก้หลอดลมอักเสบ ใช้ผสมร่วมกับชะเอมจีนทำยาอมแก้ไอ
  • น้ำมันจากเมล็ด ขับเสมหะ ฆ่าเชื้อโรค ขับลม แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืดเฟ้อในเด็ก ฆ่าแมลง เช่น หมัด เหา เชื้อรา

คุณค่าทางโภชนาการของเทียนสัตตบุษย์

การแปรรูปของเทียนสัตตบุษย์

ผลนำมาเป็นส่วนผสมในยาสีฟันหรือน้ำยาบ้วนปาก นอกจากนี้อาจใช้ผสมในเครื่องหอม สบู่ และของหอมชนิดอื่นๆ หรือใช้แต่งน้ำยาบ้วนปาก แต่งกลิ่นอาหาร ลูกกวาด เครื่องดื่ม เหล้า แต่งกลิ่นบุหงา และกลบกลิ่นไม่ดีของยาก็ได้

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11792&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment