เบญจมาศ ไม้ประดับที่สามารถดูดสารพิษภายในอาคารได้

เบญจมาศ

ชื่ออื่นๆ : เบญจมาศ, เบญจมาศหนู (ภาคกลาง) ดอกขี้ไก่ (เงี้ยว, แม่ฮ่องสอน) เก๊กฮวย (จีน)

ต้นกำเนิด : ประเทศญี่ปุ่นและจีน

ชื่อสามัญ : Chrysanthemum

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendranthemum grandifflora

ชื่อวงศ์ : Compositae

ลักษณะของเบญจมาศ

ต้น เบญจมาศเป็นไม้ขนาดเล็กสูงประมาณ 1 – 3 ฟุต ตามกิ่งก้านและลำต้นมีขนละเอียด

ใบ ใบเรียวรี ขอบใบหยัก ใบสีเขียวอ่อนนุ่มมีขนอ่อนๆทั่วทั้งใบ

ดอก ดอกกลม กลีบใบจะซ้อนๆกันมีหลากหลายสี สีแดง สีบานเย็น สีขาว สีม่วง น้ำเงิน สีเหลือง เบญจมาศเป็นไม้กลางแจ้งที่ชอบแดด ต้องการน้ำปานกลาง และความชื้นอย่างสม่ำเสมอ

พันธุ์เบญจมาศอยู่กว่า 1,000 พันธุ์ ที่นิยมปลูกในประเทศไทยเป็นประเภท Standard Type สีเหลืองและสีขาว พันธุ์ที่นิยมปลูกในขณะนี้คือ พันธุ์ขาวการะเกด พันธุ์ขาวเมืองตาก และพันธุ์ TW12 (Pui Tsin-Shin) ซึ่งให้ดอกสีขาว พันธุ์เหลืองตาก พันธุ์เหลืองทอง พันธุ์เหลืองอินทนนท์ พันธุ์เหลืองเกษตร และพันธุ์ TW17 (Shin-Fan-Tsu-Ri) ซึ่งมีดอกสีเหลือง

เบญจมาศ
เบญจมาศ ดอกกลม กลีบใบจะซ้อนกันมีหลากหลายสี เช่นสีแดง สีขาว สีชมพู สีม่วง

การขยายพันธุ์ของเบญจมาศ

ใช้เมล็ด, การปักชำ, การแยกหน่อ

ธาตุอาหารหลักที่เบญจมาศต้องการ

ประโยชน์ของเบญจมาศ

  • เบญจมาศเป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็กที่มีดอกสีสันสดใส นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับกลางแจ้ง ใช้คลุมดินตามแนวทางเดินหรือริมรั้ว
  • เบญจมาศเป็นไม้ประดับที่มีความสามารถสูงมากในการดูดสารพิษภายในอาคารดังนั้นเมื่อนำมาปลูกภายในอาคารจึงควรตั้งไว้ในที่ๆแสงแดดส่องถึง รดน้ำอย่างสม่ำเสมอก็จะสามารถ ออกดอกได้ตลอดทั้งปี

นอกจากดอกที่มีสีสันสดใส ทำให้บรรยากาศภายในสดชื่นสว่างไสว ชึ่งเป็นลักษณะเด่นของเบญจมาศแล้ว เบญจมาศยังเป็นไม้ประดับที่มีความน่าสนใจมาก อันเนื่องมาจากประสิทธิภาพในการดูดสารพิษสูงมากจำพวกสารพิษ ฟอร์มาดีไฮด์ เบนซีน และแอมโมเนีย จึงไม่ควรมองข้ามที่จะหาเบญจมาศมาปลูกในสำนักงานหรือบ้านเรือน

สรรพคุณทางยาของเบญจมาศ

  • แก้โรคตับ ไขข้ออักเสบ โรคตามืดในเวลากลางคืน โรคประจำเดือนมาไม่ปกติ ปวดหัว วิงเวียนศีรษะ หูอื้อ ป้องกันผมไม่ให้หงอก เป็นยาขับลมในลำไส้ เจริญอาหาร บำรุงเส้นประสาท สายตา
  • ใบและลำต้น ใช้ภายนอก โดยตำเป็นยาพอกแผลน้ำร้อนลวก และโรคผิวหนังอื่น ๆ
  • ใบและดอก น้ำคั้นใส่บาดแผล น้ำต้มแก้โรคนิ่ว โรคเกี่ยวกับต่อมน้ำเหลือง วัณโรค

เบญจมาศมีสรรพคุณทางสมุนไพรเป็นที่รู้จักกันมายาวนาน โดยเฉพาะดอกของเบญจมาศบางพันธุ์คือ พันธุ์ดอกสีขาวขนาดเล็ก กลิ่นหอม ที่นำมาตากแห้งแล้วต้มน้ำร้อนดื่มที่คนไทยรู้จักกันดีในชื่อน้ำเก๊กฮวย มีสรรพคุณแก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้อ่อนเพลีย ชูกำลังและบำรุงหัวใจ มีกลิ่นหอม เฉพาะตัว นอกจากเบญจมาศดอก สีขาวของจีนแล้ว ดอกเบญจมาศสีเหลืองขนาดเล็กที่เรียกว่า เบญจมาศหนู (Chrysanthemum indicum Linn.) ที่ปลูกในเมืองไทยได้ดี มีกลิ่นหอม ก็นำมาตาก แห้งชงน้ำร้อนเป็นน้ำเก๊กฮวยได้เช่นเดียวกัน สรรพคุณเหมือนกัน คนไทยจึงควรหาเบญจมาศหนู มาปลูกเอาไว้ดูความน่ารักของดอกขนาดเล็กที่เป็นช่อดกและใช้ประโยชน์ทางสมุนไพรได้ไม่แพ้ดอกเก๊กฮวยสีขาวจากจีน

คุณค่าทางโภชนาการของเบญจมาศ

การแปรรูปของเบญจมาศ

นิยมนำมาตากแห้ง ใช้ชงกับใบชา หรือต้มกับน้ำตาลทำน้ำเก๊กฮวย

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9870&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment