เปล้าน้อย ไม้ต้นผลัดใบ ดอกช่อ ออกที่ซอกใบบริเวณปลายกิ่ง

เปล้าน้อย

ชื่ออื่นๆ : เปล้าท่าโพ (ตะวันออกเฉียงเหนือ)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : เปล้าน้อย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Croton stellatopilosus Ohba

ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE

ลักษณะของเปล้าน้อย

ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 1-4 เมตร ผลัดใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอกกลับ กว้าง 4-6 ซม. ยาว 10-15 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบบริเวณปลายกิ่ง ดอกย่อยขนาดเล็กแยกเพศ อยู่ในช่อเดียวกัน กลีบดอกสีนวล ออกดอกเมื่อใบแก่ ผลเป็นผลแห้ง แตกได้ มี 3 พู

เปล้าน้อย
เปล้าน้อย ใบเป็นรูปหอกกลับ ดอกออกปลายกิ่ง

การขยายพันธุ์ของเปล้าน้อย

การขยายพันธุ์ ควรได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ หรือรากไหล จะได้พันธุ์แท้ เพาะจากเมล็ดมีการกลายพันธุ์ได้

ธาตุอาหารหลักที่เปล้าน้อยต้องการ

ประโยชน์ของเปล้าน้อย

สรรพคุณทางยาของเปล้าน้อย

ส่วนที่ใช้ : ใบ ราก ดอก ผล เปลือก แก่น

  • ใบ – ใช้บำรุงธาตุ แก้โรคกระเพาะ บำรุงโลหิตประจำเดือน
    มีสาร disterpene alcohol (CS-684 หรือ plaunotol) มีฤทธิ์สมานแผลในกระเพาะอาหารได้เป็นอย่างดี รักษาโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร เช่น แผลในกระเพาะ
  • ใบ ราก – แก้คัน รักษามะเร็งเพลิง – รักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน – แก้พยาธิต่างๆ ริดสีดวงทวาร – แก้ไอเป็นโลหิต – เป็นยาปฏิชีวนะดอก – ขับพยาธิ ฆ่าพยาธิ
  • ผล – แก้โรคน้ำเหลืองเสีย
  • เปลือก – บำรุงธาตุ
  • แก่น – ขับโลหิต

วิธีใช้
นำใบ ค่อนข้างใบอ่อน ตากแห้ง บดละเอียด ต้มหรือชงน้ำดื่ม (ต้นเปล้าน้อยที่ปลูกมีอายุ 2 ปี ตัดใบนำมาใช้ได้ เก็บใบได้ปีละ 2 ครั้ง)
ข้อเสียของยาชงนี้ ทำให้คนไข้ได้ตัวยาไม่สม่ำเสมอ ตัวยาไม่แน่นอน และได้ตัวยาอื่นๆ เจือปนด้วย ทำให้ประสิทธิภาพในการรักษาไม่สมบูรณ์ มีอาการข้างเคียง
นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบวิธีการสกัดตัวยาเปล้าน้อยบริสุทธิ์ได้คือ Plaunotol ออกมา
ขนาดรับประทานที่เหมาะสม คือ 3 x 8 มก./วัน ประมาณ 8 อาทิตย์ อาการคนไข้ดีขึ้น 80 – 90 % และเมื่อส่องดูแผลพบว่าได้ผล 60 – 80 %
อาการข้างเคียง น้อย มีเพียง 1-2 ราย ที่มีอาการผื่นขึ้น ท้องเสีย แน่นท้อง ท้องผูก Plaunotol ดูดซึมจากทางเดินอาหารได้ดี ส่วนใหญ่ถูก Oxidise ในตับ และขับออกทางปัสสาวะและอุจจาระ
ข้อดีของตัวยาบริสุทธิ์ Plaunotol คือ มีฤทธิ์สมานแผลในกระเพาะอาหาร และลำไส้ได้เป็นอย่างดี มีฤทธิ์กระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อบุลำไส้ที่เสียไป ทำให้แผลหายเร็วขึ้น มีฤทธิ์ลดปริมาณการหลั่งของกรดในกระเพาะอาหารน้อยลง และทำให้ระบบป้องกัน การดูดซับกรดของเนื้อเยื่อบุกระเพาะซึ่งถูกทำลายด้วยสารบางชนิด กลับคืนดี มีความเป็นพิษต่ำ นับว่าสมุนไพรเปล้าน้อยนี้ มีตัวยาที่ใช้ในการรักษาโรคกระเพาะได้อย่างดีเยี่ยม เป็น Broad Spectrum antiseptic ulcer drug
สารเคมี (E.Z,E) -7- hydroxymethyl -3, 11, 15-trimethy-2,6,10,14-hexadecate traen-1-01 มีชื่อว่า CS-684 หรือ Plaunotol, Plaunotol A,B,C,D,E

คุณค่าทางโภชนาการของเปล้าน้อย

การแปรรูปของเปล้าน้อย

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10448&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment