เพี้ยฟาน ไม้พุ่มขนาดเล็ก ใบอ่อนใช้รับประทานเป็นผักจิ้มได้

เพี้ยฟาน

ชื่ออื่นๆ : หนาดงั่ว หนวดงิ้ว หนาดวัว (อุดรธานี) เพี้ยฟาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) ขลู คลู(ใต้) ขี้ป้าน (แม่ฮ่องสอน)

ต้นกำเนิด : ขึ้นตามธรรมชาติในป่าชายเลนของประเทศเขตร้อน เช่น ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ออสเตรเลีย และอินเดีย เป็นต้น

ชื่อสามัญ :  ขลู่

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pluchea indica (Linn.) Less

ชื่อวงศ์ : Compositae

ลักษณะของเพี้ยฟาน

เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กมีความสูง 1-2 เมตร ใบรูปไข่กลับปลายแหลม ขอบหยักโดยรอบ มีขนสีขาวปกคลุม ก้านสั้น ดอกเล็กเป็นกระจุกรวมกันเป็นช่อ สีขาวอมม่วงออกตามซอกใบ เกิดตามที่รกร้าง ชอบดินเค็มหรือ ดินกร่อย ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

เพี้ยฟาน
เพี้ยฟาน ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกเป็นฝอยสีขาวนวลหรือสีขาวอมม่วง

การขยายพันธุ์ของเพี้ยฟาน

ใช้ส่วนอื่นๆ

ธาตุอาหารหลักที่เพี้ยฟานต้องการ

ประโยชน์ของเพี้ยฟาน

ใบอ่อนใช้รับประทานเป็นผักจิ้มได้ ใบเมื่อนำมาผึ่งให้แห้ง จะมีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นน้ำผึ้ง ใช้ชงดื่มแทนชา

สรรพคุณทางยาของเพี้ยฟาน

  • ดอก แก้นิ่ว ราก แก้กษัย ขับนิ่ว
  • ทั้งต้น แก้นิ่วในไต ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ แก้ริดสีดวงทวาร แก้มุดกิตระดู ขาว
    แก้ตานขโมย
  • เปลือกต้น แก้ริดสีดวงจมูก ริดสีดวงทวาร

ใบขลู่มีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพกลุ่มที่สำคัญคือกลุ่มฟีโนลิกและฟลาโวนอยด์ ใบขลู่ 100 กรัมมีกรดคลอโรจีนิก 20 มิลลิกรัม กรดคาเฟอิก 8.65 มิลลิกรัม และเคอร์ซิติน 5.21 มิลลิกรัม ผลการวิจัยของ Andarwulan และคณะในปีพ.ศ. 2553 ได้แสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากใบขลู่ มีฤทธิ์ที่ดีในการต้านอนุมูลอิสระและสามารถยับยั้งการเกิดออกซิเดชั่นของลิปิดได้ดีมาก ซึ่งนอกจากนี้แล้วได้มีรายงานทางเภสัชวิทยาหลายฉบับยืนยันฤทธิ์ทางชีวภาพของใบขลู่ สรุปสาระสำคัญโดยย่อได้ดังนี้ สารสกัดจากใบขลู่ด้วยการแช่ในเอทานอลเข้มข้น 70% เป็นเวลา 2 วัน พบว่า มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ และลดการปวดในสัตว์ทดลอง ซึ่งฤทธิ์ต้านการอักเสบได้รับการยืนยันซ้ำ จากผลการศึกษาการใช้สารสกัดใบขลู่เฉพาะส่วนที่สามารถละลายได้ทั้งในเอทานอลและเอธิลอะซิเตต สำหรับสารสกัดจากใบขลู่ด้วยการแช่ในเมทานอลเข้มข้น 80% เป็นเวลา 7-14 วัน พบว่ามีฤทธิ์ต้านโรควัณโรค

คุณค่าทางโภชนาการของเพี้ยฟาน

ใบขลู่สด 100 กรัม มีคุณค่าทางโภชนาการดังนี้

  • โปรตีน 1.8 กรัม
  • ไขมัน 0.5 กรัม
  • ใยอาหารแบบละลายน้ำ 0.5 กรัม
  • ใยอาหารแบบไม่ละลายน้ำ 0.9 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต 8.7 กรัม
  • แคลเซียม 250 มิลลิกรัม
  • เบต้า-แคโรทีน 1.2 มิลลิกรัม
  • น้ำ 87.5 กรัม

ทั้งนี้ปริมาณแคลเซียมและปริมาณเบต้า-แคโรทีนที่พบในใบขลู่สด 100 กรัม เป็นปริมาณที่ใกล้เคียงเคียงเทียบเท่ากับปริมาณแคลเซียมที่ได้จากการดื่มน้ำนม 1 แก้ว (8 ออนซ์)  และปริมาณเบต้า-แคโรทีนที่ได้จากการกินเนื้อฟักทองสุก 100 กรัม ตามลำดับ เบต้า-แคโรทีนเป็นรงควัตถุสีเหลืองที่พบในพืชและมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดี อย่างไรก็ตามใบของต้นขลู่ที่ขึ้นตามธรรมชาติในป่าชายเลนอาจมีปริมาณโซเดียมสูงมากเนื่องมาจากต้นขลู่ได้รับเกลือโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ที่มาจากความเค็มของดิน  ดังนั้นผู้ที่ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจไม่ควรรับประทานใบขลู่ในปริมาณมาก

การแปรรูปของเพี้ยฟาน

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11868&SystemType=BEDO
https://pharmacy.mahidol.ac.th
https://www.flickr.com

Add a Comment