เพ็ก ใช้ปลูกเป็นแนวกั้นเขตแดนแทนการสร้างรั้วลวดหนาม หน่อเพ็ก นิยมใช้ประกอบอาหารได้

เพ็ก

ชื่ออื่นๆ : ไผ่เพ็ด (เพชรบูรณ์) เพ็ก (เลย) เพ็ด (นครราชสีมา) หญ้าเพ็ก

ต้นกำเนิด : พบขึ้นในที่ดอนและในที่ร่มเงาของป่าโปร่ง ทนต่อสภาพแห้งแล้งและการถูกไฟเผา

ชื่อสามัญ : ไผ่เพ็ก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vietnamosasa pusilla

ชื่อวงศ์ : Gramineae

ลักษณะของเพ็ก

ลำต้น  เป็นไม้พุ่มในพืชตระกูลไผ่ที่มีอายุหลายปี มีลำต้นแตกกอแน่น ลำต้นมีลักษณะกลม เป็นข้อปล้อง มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5 – 1.5 เซนติเมตร สูงประมาณ 50 – 120 เซนติเมตร เนื้อลำต้นแข็ง และเหนียวคล้ายไม้ไผ่ มีกิ่งก้านแตกจากข้อปล้อง มีเหง้า และรากแตกเป็นแขนงอยู่ใต้ดินในระดับตื้น-ลึกปานกลาง

ใบไผ่เพ็กออกเป็นใบเดี่ยวเยื้องสลับกันบริเวณข้อปล้อง ใบมีลักษณะเรียวยาว กว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 8 – 15 เซนติเมตร แผ่นใบ และขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม แผ่นหยาบกระด้าง และขอบใบมีคม

ดอกเป็นช่อแยกแขนง (Panicle) ตัวดอกมีขนาดเล็ก ออกเป็นกระจุกแน่นบนช่อดอก ทั้งนี้ ไผ่เพ็กจะออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เดือนมีนาคม

ไผ่เพ็ก
ไผ่เพ็ก ลำต้นแตกกอแน่น เป็นข้อปล้อง

การขยายพันธุ์ของเพ็ก

ใช้หัว/เหง้า/หน่อ/การขยายพันธุ์และการผลิตกล้า โดยการแยกกอ/แยกหน่อ ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูก
ดิน ดินปนทราย

ธาตุอาหารหลักที่เพ็กต้องการ

ประโยชน์ของเพ็ก

หน่อไผ่เพ็ก หรือ บางพื้นที่เรียก หน่อโจด นิยมใช้ประกอบอาหารได้หลายเมนู หน่อมีรสเฝื่อนขม มีเนื้อกรอบ เหมาะสำหรับทำเมนูจำพวกซุปหน่อเพ็ก แกงเลียง แกงเปอะ หรือ ลวกจิ้มรับประทานกับน้ำพริกก็ยิ่งอร่อยนัก

ใช้ปลูกเป็นแนวกั้นเขตแดนแทนการสร้างรั้วลวดหนาม

ใบไผ่เพ็ก
ใบไผ่เพ็ก เรียวยาว ปลายแหลม

สรรพคุณทางยาของเพ็ก

ใบและราก ช่วยบรรเทาอาการไข้ ช่วยขับปัสสาวะ แก้โรคเบาหวาน

คุณค่าทางโภชนาการของเพ็ก

การแปรรูปของเพ็ก

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11867&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment