เลียงฝ้าย เนื้อไม้ทำเป็นเครื่องเรือนก่อสร้างบ้าน

เลียงฝ้าย

ชื่ออื่นๆ : เลียงมัน (กลาง) ปอเลียง (เหนือ) เลียงนา (เลย) เฉลา(พิษณุโลก) ทุมทวย (สระบุรี) ปอหมันใหญ่ ยางใบมน เลียงนา หมากหัวลิง

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : เลียง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Berrya mollis Wall.ex kurz

ชื่อวงศ์ : TILIACEAE

ลักษณะของเลียงฝ้าย

ต้น  ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 5-20 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มโปร่ง ลำต้นค่อนข้างเปลาตรง เปลือกสีเทา ลอกเป็นแผ่นได้

ใบ  ใบเป็นใบเดี่ยว รูปไข่กว้าง โคนใบเว้าลึก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ค่อนไปทางปลายใบ มี 3 แฉก ขนาดกว้าง 6-15 ซม. ยาว 7-18 ซม. เส้นแขนงใบออกจากจุดเดียวกันบริเวณโคนใบ 7 เส้น เนื้อใบหนา หลังใบสาก ท้องใบมีขนสีเทานุ่ม ก้านใบยาว 2-8 ซม. ดอกออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 10-20 ซม.

ดอก  ดอกย่อยมีขนาดเล็ก สีแดง กลีบดอกมี 4-5 กลีบ ขนาด 1-2 มม. เกสรผู้มีมาก เกลี้ยง รังไข่มี 3 พู

ผล  ผลค่อนข้างกลมขนาด 1 ซม. แต่ละพูจะมีปีกทั้งหมด 3 คู่ สีน้ำตาลแดง

ต้นเลียงฝ้าย
ต้นเลียงฝ้าย เรือนยอดเป็นพุ่มโปร่ง ใบรูปไข่กว้าง
ดอกเลียงฝ้าย
ดอกเลียงฝ้าย ดอกย่อยสีแดง กลีบดอกมี 4-5 กลีบ

การขยายพันธุ์ของเลียงฝ้าย

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่เลียงฝ้ายต้องการ

ประโยชน์ของเลียงฝ้าย

ผลทำเป็นของประดับ  เนื้อไม้ทำเป็นเครื่องเรือนก่อสร้างบ้าน(จากการสัมภาษณ์และการจัดประชุมเสวนาผู้รู้ในท้องถิ่น)

สรรพคุณทางยาของเลียงฝ้าย

คุณค่าทางโภชนาการของเลียงฝ้าย

การแปรรูปของเลียงฝ้าย

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9292&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment