เล็บมือนาง
ชื่ออื่นๆ : นิ้วมือพระนารายณ์ (ภาคใต้); มือพระนารายณ์ (ตราด); เล็บมือนาง (ภาคกลาง); อ้อยช้าง (อุตรดิตถ์) แสมแดง (ชุมพร), เล็บนาว (สตูล), มะจีมั่ง, จ๊ามัง, จะมั่ง (ภาคเหนือ), นิ้วมือพระนารายณ์ (ใต้), ไท้หม่อง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), วะดอนิ่ง, อะดอนิ่ง (มะลายู-ยะลา) และ เล็บมือนางต้น
ต้นกำเนิด : อินเดีย จีนตอนใต้ และเวียดนาม ในไทยพบทุกภาค
ชื่อสามัญ : นิ้วมือพระนารายณ์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Schefflera heptaphylla(L.)Merr
ชื่อวงศ์ : ARALIACEAE
ลักษณะของเล็บมือนาง
ไม้เถาหรืออิงอาศัย สูงได้ถึง 3 ม. หูใบยาว 5–6 มม. ใบย่อยมี 5–7 ใบ ก้านยาว 4–18 ซม. ใบย่อยรูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาว 8–17 ซม. ก้านใบย่อยยาว 1.5–7 ซม. แกนกลางช่อดอกยาวได้ถึง 9 ซม. มีขนรูปดาวสั้นนุ่ม ใบประดับรูปสามเหลี่ยมมน ยาว 0.8–1.5 ซม. ช่อแยกแขนงยาว 5–18 ซม. ช่อซี่ร่มมี 5–13 ช่อ ก้านช่อยาว 0.5–2.5 ซม. ใบประดับเรียวแคบ ยาวประมาณ 1 ซม. มี 7–16 ดอก ก้านดอกยาว 2–5 มม. ขยายในผล กลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่ ยาว 1.5–2.5 มม. ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 3 มม. จานฐานดอกรูปกรวย รังไข่มี 5 ช่อง ยอดเกสรเพศเมีย 5 อัน ไร้ก้าน ติดทน ผลรูปไข่กว้าง ยาว 3.5–5 มม. สุกสีส้ม

การขยายพันธุ์ของเล็บมือนาง
ใช้เมล็ด/-
ธาตุอาหารหลักที่เล็บมือนางต้องการ
ประโยชน์ของเล็บมือนาง
เป็นเชื้อเพลิง(จากการสัมภาษณ์และการจัดประชุมเสวนาผู้นำชุมชนท้องถิ่น)
ผลอ่อน กินเป็นผัก
สรรพคุณทางยาของเล็บมือนาง
กิ่ง ต้มน้ำดื่ม แก้ไข้ รักษาโรคความดันสูง, ราก ต้มน้ำดื่ม รักษาโรคเบาหวาน
คุณค่าทางโภชนาการของเล็บมือนาง
การแปรรูปของเล็บมือนาง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9281&SystemType=BEDO
https://www.dnp.go.th/botany/mindexdictdetail.aspx?runno=4639
https://eherb.hrdi.or.th/search_result_details.php?herbariumID=821&name=%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%93%E0%B9%8C