เศรษฐีเงินหนา
ชื่ออื่นๆ : ต้นเศรษฐีเงินหนา, ต้นหน้าวัวเงินหนา
ต้นกำเนิด : เขตร้อนแถบทวีปอเมริกา
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anthurium Jermanii Engl.
ชื่อวงศ์ : ARACEAE
ลักษณะของเศรษฐีเงินหนา
ลำต้น พืชอายุหลายปีไม่มีเนื้อไม้ เป็นพืชเขตร้อนลำต้นตรง เจริญเป็นกอ ทรงพุ่มแผ่กว้าง เมื่อโตเต็มที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 50-60 ซม.
ใบ ใบเดี่ยว การเรียงตัวของใบจะเรียงเป็นเกลียวรอบต้น ผิวใบเป็นมัน ใบรูปไข่กลับถึงรูปใบหอกกลับ ใบกว้าง 8-18 ซม. ยาว 30-50 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง สีเขียวคล้ำ เห็นเส้นใบราง ๆ ก้านใบกลม มีสันด้านบน ยาวประมาณ 5 ซม.
ดอก ช่อดอกแบบช่อเชิงลดมีกาบ ดอกสมบูรณ์เพศ มีเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียอยู่ในดอกเดียวกัน ดอกเป็นรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด เรียงตัวกันแน่นบนช่อดอกที่เรียกว่า ปลี (Spadix) ยาว 12-15 ซม. สีม่วงแดงคล้ำ และมีจานรองดอก (spathe) รูปใบหอกกว้าง 2.5-3.0 ซม. ยาว 10-12 ซม. สีม่วงแดงคล้ำ ก้านช่อดอกกลม ยาวประมาณ 30 ซม.
ผล มีเนื้อนุ่ม เมื่อสุกมีสีแดงอมส้ม แต่ละผลมีเพียง 1 เมล็ดหรือหลายเมล็ด รูปรี รูปขอบขนานหรือรูปกลม
การขยายพันธุ์ของเศรษฐีเงินหนา
การเพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่เศรษฐีเงินหนาต้องการ
ประโยชน์ของเศรษฐีเงินหนา
นิยมปลูกเป็นไม้กระถางประดับตกแต่งภายในบ้านเรือน เชื่อว่าหากปลูกไว้จะนำแต่ความโชคดีมาให้ ทำมาค้าขึ้น
สรรพคุณทางยาของเศรษฐีเงินหนา
–
คุณค่าทางโภชนาการของเศรษฐีเงินหนา
การแปรรูปของเศรษฐีเงินหนา
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9536&SystemType=BEDO
http://rprp.hwt.co.th
https://www.flickr.com