เสนียด ใช้ใบเสนียดร่วมกับสมุนไพรอื่นเตรียมเป็นกระสาย ยาแก้เสมหะ

เสนียด

ชื่ออื่นๆ : ใบกระเหนียด, ใบกุลาขาว, ใบบัวลาขาว, ใบบัวฮาขาว, ใบโบฮาขาว, ใบโมรา, ใบเสนียดโมรา, ใบหูรา

ต้นกำเนิด : เอเชียใต้

ชื่อสามัญ : Vasaka

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Justicia adhatoda L.

ชื่อวงศ์ : Acanthaceae

ลักษณะของเสนียด

ต้น ไม้พุ่ม สูง 1.5-4 เมตร ลำต้นมักเป็นเหลี่ยม

ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่หรือรูปรีกว้าง 3-6 เซนติเมตร ยาว 8-15 เซนติเมตร ปลายแหลมถึง เรียวแหลม โคนสอบถึงรูปลิ่ม ขอบเรียบถึงหยักมนหรือเป็นคลื่น มีขนสั้นนุ่มทั้งสองด้าน เส้นแขนงใบข้างละ 9-12 เส้น ก้านใบยาว 1-3 เซนติเมตร มีขนสั้นนุ่ม

ดอก ช่อดอกที่ปลายกิ่ง มีใบประดับย่อยสีเขียวหุ้มดอกย่อยที่ช่อดอก ดอกย่อยสีขาว กลีบดอกติดกัน แยกเป็น 2 ปาก

ผล แบบผลแห้งแตก รูปไข่กลับถึงรูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 3-4 มิลลิเมตร ยาว 0.8-4 เซนติเมตร พองคล้ายกระเปาะ โคนแคบ ปลายแหลม

เมล็ด แบน รูปรีกว้างถึงค่อนข้างกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 มิลลิเมตร สีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม ผิวขรุขระ

ต้นเสนียด
ต้นเสนียด เป็นไม้พุ่ม

การขยายพันธุ์ของเสนียด

การเพาะเมล็ด, การปักชำ

ธาตุอาหารหลักที่เสนียดต้องการ

ประโยชน์ของเสนียด

  • เปลือกต้น ใช้ย้อมผ้า ตำรับยาไทยใช้ใบเสนียดร่วมกับสมุนไพรอื่นเตรียมเป็นกระสายยาแก้เสมหะ
  • ทางสมุนไพร   ใบสด แก้ไอ เนื่องจากในใบมีสารอัลคาลอยด์ vasicine และ vasicinone ออกฤทธิ์ขยายหลอดลมและละลายเสมหะ ขนาดและวิธีใช้คือ ใช้ใบสด 3-7 ใบ ตำ เติมน้ำคั้นให้ได้ 2 ช้อนแกง (1.5 มิลลิลิตร) ผสมกับน้ำคั้นขิงสด จิบแก้ไอ
ใบเสนียด
ใบเสนียด ใบเดี่ยว รูปไข่

สรรพคุณทางยาของเสนียด

ส่วนที่ใช้ :  ใบ ดอก ราก

  • ใบ ห้ามเลือด
  • ราก เป็นยาบำรุงปอด รักษาวัณโรค
  • ใบและดอก มีสารวาไซซีน (vasicine) และวาไซซิโนน (vasicinone) ซึ่งมีฤทธิ์ขยายหลอดลมและละลายเสมหะ มีการพัฒนาต่อยอดจนได้สารประกอบ ชื่อ บรอมเฮกซีน (bromhexine) ซึ่งเป็นยาละลายเสมหะ เพิ่มการหลั่งเมือกในทางเดินหายใจ และทำให้ขนของเซลล์ในทางเดินหายใจพัดเสมหะออกมาได้ดีขึ้น เป็นตัวยาสำคัญในยาแก้ไอ ขับเสมหะ

องค์ประกอบทางเคมี : สารวาไซซีน (vasicine) และวาไซซิโนน (vasicinone) มีฤทธิ์ขยายหลอดลมและละลายเสมหะ

ดอกเสนียด
ดอกเสนียด ใบประดับย่อยสีเขียวหุ้มดอกย่อยที่ช่อดอก ดอกย่อยสีขาว

คุณค่าทางโภชนาการของเสนียด

การแปรรูปของเสนียด

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10904&SystemType=BEDO
http ://www.ananhosp.go.th
https://www.flickr.com

Add a Comment