เสน่ห์จันทร์แดง มีความสามารถสูงในการดูดสารพิษในอากาศโดยเฉพาะสารพิษจำพวกแอมโมเนีย

เสน่ห์จันทร์แดง

ชื่ออื่นๆ : ว่านเสน่ห์จันทร์แดง

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : King of Hrarts

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Homalomena rubescens (Roxb.) Kunth

ชื่อวงศ์ : Araceae

ลักษณะของเสน่ห์จันทร์แดง

เสน่ห์จันทร์เเดง เป็นไม้ประดับที่มีรูปทรงสวยงามน่าดึงดูดสายตาด้วบความโดดเด่นของใบรูปหัวใจที่มีสีเขียวเข้มตัดกับสีแดงเข้มแต่เป็นพืชไม่ค่อยทนทาน ต้องการดูแลรักษา เป็นไม้ล้มลุกและแตกกอ สูง 45 – 60 เซนติเมตร มีหัวอยู่ใต้ดิน ลำต้นอยู่เหนือดินก้านใบกลม สีเขียวหรือเขียวอมแดง หรือแดงเลือดหมู ใบเป็นรูปหัวใจ กลมโต โคนใบมนเว้าเข้าหาก้านใบ แผ่น ใบสีเขียวเข้มเป็นมันหลังใบอาจมีสีแดงเลือดหมูออกดอกเป็นช่อแทงออกมาจากกลางต้นออกดอกเป็นกลุ่ม 6 – 7 ดอก ดอกคล้ายดอกหน้าวัว กาบหุ้มดอกสีเขียวอ่อน

เสน่ห์จันทร์แดง
ปลายใบแหลม ก้านใบสีแดง

การขยายพันธุ์ของเสน่ห์จันทร์แดง

ใช้หัว/เหง้า/หน่อ/ขยายพันธุ์โดย การแยกหน่อจากต้นเดิม หรือปักชำลำต้น

ธาตุอาหารหลักที่เสน่ห์จันทร์แดงต้องการ

เป็นพรรณไม้ที่ตัองการ ความชุ่มชื้นอยู่เสมอ ต้องการน้ำพอสมควรเป็นพืชที่ชอบร่มเงาไม่ชอบแสงแดดจัด ถ้าโดนแสงแดดมากใบจะเปลียนสี ควรใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกผสมน้ำรดเดือนละครั้ง

ประโยชน์ของเสน่ห์จันทร์แดง

  • นิยมเป็นไม้กระถาง หรือไม้คลุมดินในสวน ใต้ร่มเงา เมื่อนำมาปลูกในอาคารอาจจะไม่ทนแล้งและโตช้าสักหน่อย
  • เสน่ห์จันทร์แดงเป็นไม้ประดับที่มีคนไทยนิยมปลูกเป็นไม้มงคลที่เชื่อว่าปลูกไว้แล้วจะโชคดี ถ้านำมาตั้งไว้ในร้านค้าจะค้าขายดีมีกำไรเป็นเสน่ห์เมตตามหานิยมแก่คนทั่วไป มีความสามารถสูงในการดูดสารพิษในอากาศโดยเฉพาะสารพิษจำพวกแอมโมเนีย เหมาะสำหรับปลูกไว้ตามบ้านเรือน ร้านค้า เพื่อเป็นศิริมงคล จะมีคนเข้ามาแวะเวียนและอุดหนุนไม่ขาด

สรรพคุณทางยาของเสน่ห์จันทร์แดง

1.ทั้งต้นมีสารพิษชนิดหนึ่งอยู่ ฉะนั้นจึงใช้เป็นยาพิษ (ทั้งต้น)
2.ใบใช้ภายนอกเป็นยารักษาแผล (ใบ)
3.หัวหรือเหง้าใช้เป็นยาทาเฉพาะภายนอก โดยจะช่วยแก้โรคไขข้ออักเสบได้ (หัว)

ข้อควรระวัง : เสน่ห์จันทน์แดงทั้งต้นรวมทั้งใบจะมีสารพิษชนิดหนึ่ง ฉะนั้นการนำมาใช้เป็นยาควรใช้เฉพาะภายนอกเท่านั้น ห้ามนำมารับประทาน

คุณค่าทางโภชนาการของเสน่ห์จันทร์แดง

การแปรรูปของเสน่ห์จันทร์แดง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10733&SystemType=BEDO
www.flickr.com

Add a Comment