เหงือกปลาหมอดอกขาว แก้มหม้อ
ชื่ออื่นๆ : เหงือกปลาหมอ (กลาง) แก้มหมอ
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : Sea holly
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acanthus ebrcteatus vahi
ชื่อวงศ์ : ACANTHACEAE
ลักษณะของเหงือกปลาหมอดอกขาว แก้มหม้อ
ต้น เป็นไม้ล้มลุกหรือไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงไม่กิน 1 – 1.5 เมตร ราก พบทั้งรากค้ำจุน และ รากอากาศ เกิดจากลำต้นที่เอนนอน ลำต้น อวบ มีหนามคล้ายกับเหงือกปลาหมอดอกม่วงมาก
ใบ ใบเดี่ยว เรียงตัวตรงข้ามสลับฉาก แผ่นใบรูปหอก ขนาด 3 – 5 X 7 – 16 เซนติเมตร จากกลางใบกว้าง และเรียวสอบทางฐานใบ ขอบใบกว้างหยักตื้น มีหนามประปราย
ดอก สมบูรณ์เพศ ออกเป็นช่อตั้งตรงที่ปลายกิ่ง แบบช่อเชิงลด ช่อดอกมีขนาดไม่แน่นอน ใบประดับ สั้นกว่ากลีบเลี้ยง จะร่วงไปก่อนระยะดอกบาน มีใบประดับย่อยในระยะแรก แต่จะร่วงหล่นเร็วซึ่งเป็นลักษณะที่แตกต่างไปจากเหงือกปลาหมอดอกม่วง วงกลีบดอกสมมาตรด้านข้าง ขณะดอกตูมปลายกลีบเชื่อมติดกัน ดอกบาน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 – 2.5 เซนติเมตร สีขาว เกสรเพศผู้ มี 4 อัน เป็นแบบยาว 2 อัน สั้น 2 อัน ติดอยู่บนคอหลอดกลีบดอก เกสรเพศเมีย มีรังไข่เป็นแบบ รังไข่เหนือวงกลีบ ตอนบนเป็นจะงอย ภายในมี 2 ห้อง เม็ดไข่มาก ก้านเกสรยาวพ้นระดับกลีบดอก
ผล ผลแก่ สั้นกว่า 2 เซนติเมตร ซึ่งสั้นกว่าผลของเหงือกปลาหมอดอกม่วง เมล็ดมีขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 – 0.7 เซนติเมตร

การขยายพันธุ์ของเหงือกปลาหมอดอกขาว แก้มหม้อ
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่เหงือกปลาหมอดอกขาว แก้มหม้อต้องการ
ประโยชน์ของเหงือกปลาหมอดอกขาว แก้มหม้อ
ปลูกเป็นไม้ประดับในร่ม
สรรพคุณทางยาของเหงือกปลาหมอดอกขาว แก้มหม้อ
- รากและต้นต้มอาบแก้พิษไข้ ผื่นคันโรคผิวหนังทุกชนิด ถ้าใช้รับประทานเป็นยาแก้พิษฝีดาษ และฝีทั้งปวง รากต้นสดตำให้ละเอียดเอาฟอกปิดหัวฝีหรือแผลเรื้อรังถอนพิษได้
- แก้อาการเหน็บชา อัมพาต ปวดเมื่อย ปวดฟัน แก้หืด แก้ไอ ขับเสมหะ เป็นยาอายุวัฒนะ แก้ฝี ขับโลหิต ขับน้ำเหลืองเสีย แก้ท้องเฟ้อ แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย
คุณค่าทางโภชนาการของเหงือกปลาหมอดอกขาว แก้มหม้อ
การแปรรูปของเหงือกปลาหมอดอกขาว,แก้มหม้อ
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9438&SystemType=BEDO
www.flickr.com