เหลืองชัชวาล ปลูกเป็นไม้ประดับซุ้มไม้เลื้อยให้ร่มเงา

เหลืองชัชวาล

ชื่ออื่นๆ : เล็บวิฬาร์

ต้นกำเนิด : เม็กซิโก และหมู่เกาะอินดีสตะวันตกถึงอาร์เจนตินา

ชื่อสามัญ : Anikab/ Bejuco Edmurcielago/ Mano de Lagarija

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Macfadyena unguis-cati (L.) A.H.Gentry

ชื่อวงศ์ : BIGNONIACEAE

ลักษณะของเหลืองชัชวาล

ไม้เลื้อยเนื้อแข็งขนาดกลาง อายุหลายปี ไม่ผลัดใบ เลื้อยได้ไกลประมาณ 3-5 เมตร โดยใช้มือเกาะเลื้อยเกาะพันกับลำต้นไม้ใหญ่
ใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกตรงข้ามสลับตั้งฉาก ใบย่อย 2 ใบ รูปไข่ กว้าง 2-6  เซนติเมตร ยาว 4-15 เซนติเมตร ปลายใบแหลมเป็นติ่ง โคนใบมนเว้าเล็กน้อย ขอบใบหยักเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบย่อยตรงกลางเปลี่ยนรูปเป็นมือเกาะ
ดอกเป็นช่อกระจุก สีเหลือง ออกตามซอกใบและปลายยอด ดอกย่อย 2-15 ดอก รูปกรวย กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นถ้วยสีเขียว กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแผ่ออกเป็น 5 กลีบ ด้านในสีเหลืองอ่อน มีเส้นสีเหลืองเข้มเป็นแนวตามยาว เกสรเพศผู้ 4 อัน รังไข่เหนือวงกลีบ
ผล เป็นฝักแบน รูปขอบขนาน สีน้ำตาล เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก.

ต้นเหลืองชัชวาล
ต้นเหลืองชัชวาล เกาะเลื้อยพันตามต้นไม้ใหญ่
ดอกเหลืองชัชวาล
ดอกเหลืองชัชวาล เป็นช่อกระจุก สีเหลือง กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด

การขยายพันธุ์ของเหลืองชัชวาล

ปักชำ

ธาตุอาหารหลักที่เหลืองชัชวาลต้องการ

ประโยชน์ของเหลืองชัชวาล

ปลูกเป็นไม้ประดับซุ้มไม้เลื้อยให้ร่มเงา

สรรพคุณทางยาของเหลืองชัชวาล

คุณค่าทางโภชนาการของเหลืองชัชวาล

การแปรรูปของเหลืองชัชวาล

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11153&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment