เห็ดปุยฝ้าย เป็นเห็ดที่มีปุยสีขาวรอบดอกเห็ด มีกลิ่นหอม และสามารถนำมาปรุงอาหารได้หลากหลาย

เห็ดปุยฝ้าย

ชื่ออื่นๆ :  เห็ดยามาบูชิตาเกะ, เห็ดหัวลิง, เห็ดแผงคอสิงโต, เห็ดมีเครา, เคราเทพารักษ์, เห็ดเม่นมีเครา, เห็ดปอมปอมหรือเชื้อราฟันเครา

ต้นกำเนิด : อเมริกาเหนือยุโรป

ชื่อสามัญ : Lion’s Mane, Hedgehog Mushroom

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hericium erinaceus

ชื่อวงศ์ : Hericiaceae

ลักษณะของเห็ดปุยฝ้าย

เป็นเห็ดที่มีขนาดใหญ่ มีลักษณะเป็นก้อนกลมสีขาว มีปุยสีขาวรอบดอกเห็ด มีกลิ่นหอม บริเวณดอกเห็ดจะมีรูอยู่หลายรู เป็นทรงกลมมีเส้นสีขาวฟูฟ่องอยู่ สามารถใหญ่ได้ถึงประมาณ 30 เซนติเมตรเลยทีเดียว โดยดอกเห็ดเมื่ออ่อนจะมีสีขาวไม่มีขน แต่เมื่อเริ่มเป็นดอกแก่จะกลายเป็นสีน้ำตาลอ่อน และแตกเป็นขนฝอย ห้อยลงมา ดูคล้ายกับหัวลิง

เห็ดปุยฝ้าย
เห็ดปุยฝ้าย เป็นก้อนกลมสีขาว มีปุยสีขาวรอบดอกเห็ด

การขยายพันธุ์ของเห็ดปุยฝ้าย

การเพาะ

ธาตุอาหารหลักที่เห็ดปุยฝ้ายต้องการ

ประโยชน์ของเห็ดปุยฝ้าย

เป็นเห็ดที่มีปุยสีขาวรอบดอกเห็ด มีกลิ่นหอม และสามารถนำมาปรุงอาหารได้หลากหลาย เช่น เมนูซุป เมนูยำ เป็นต้น

วิธีการลดความขมของเห็ดปุยฝ้าย
สามารถแก้รสของเห็ด โดยนำเห็ดคลุกเกลือ แล้วล้างน้ำออกได้ หรือลวกน้ำร้อน ก่อนนำไปปรุงอาหาร

สรรพคุณทางยาของเห็ดปุยฝ้าย

สรรพคุณทางยาแพทย์จีนแผนโบราณเห็นว่า เห็ดหัวลิง มีรสชาติหวาน มีฤทธิ์อ่อน ใช้บำรุงม้ามและกระเพาะอาหาร เพิ่มกำลังวังชา และต่อต้านมะเร็ง ช่วยในการรักษามะเร็งในระบบทางเดินอาหาร ช่วยลดระดับน้ำตาลและคอเลสเตอรอลในเลือดได้ดี ช่วยลดอาการข้างเคียงจากการให้เคมี บำบัดและรังสีบำบัดได้

สรรพคุณของเห็ด ประกอบด้วย
1. มีโพลีแซคคาไรด์ (polysaccharide) สามารถยับยั้งการเกิด และการเจริญของเซลล์เมร็ง และช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหารรวมถึงระบบลำไส้ด้วย
2. มีสารแลนติแนน (lantinan) และเปปไทด์ (peptide) ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกายให้สูงขึ้น อีกทั้งยังเร่งสร้างสารภูมิคุ้มกันอินเตอร์ฟีรอนโดยมีผลในการยับยั้งการเจริญของก้อนเมร็งได้
3. มีสารเบต้ากลูแคน (β-glucan) ช่วยกระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และยังมีประสิทธิภาพในการปรับสมดุลของภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติให้กลับสู่สภาะสมดุล
4. มีสารไตรเทอร์ปีน (Triterpene) สามารถควบคุมระดับไขมันในเลือดได้ มีฤทธิ์ต้นอนุมูลอิสระ และป้องกันการเกิดเซลล์เมร็งชนิดต่างๆ

คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดปุยฝ้าย

การแปรรูปของเห็ดปุยฝ้าย

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10288&SystemType=BEDO
https://en.wikipedia.org
https://www.flickr.com

Add a Comment