เห็ดระโงก
ชื่ออื่นๆ : เห็ดไข่ห่าน, เห็ดเหลือง (เหนือ)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : เห็ดระโงกเหลือง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amanita hemibapha
ชื่อวงศ์ : AMANITACEAE
ลักษณะของเห็ดระโงก
ดอกเห็ดอ่อนมีเยื่อหุ้มหนา รูปกลมหรือรูปไข่ ขนาด 3-4×3-5 เซนติเมตร เมื่อเจริญขึ้นผิวด้านบนปริแตกออกเป็นรูปถ้วย หมวกเห็ดรูปไข่ สีน้ำตาลอมส้มหรือน้ำตาลอมเหลือง เมื่อกางออกจะเป็นรูปกระทะคว่ำแล้วแบนราบ เส้นผ่าศูนย์กลาง 6-12 เซนติเมตร ผิวเรียบเป็นมันและหนืดมือเมื่ออากาศชื้น ขอบเป็นริ้วยาว 0.5-1 เซนติเมตร โดยรวมเห็นชัดเจนตั้งแต่โผล่ออกจากเยื่อหุ้ม ครีบสีขาวนวล ไม่ยึดติดกับก้าน ก้านสีขาวนวล ยาว 5-10 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-3 เซนติเมตร ภายในสีขาวมีรูกลวง แอนนูลัส เป็นแผ่นบางสีขาวห้อยติดอยู่บนก้าน
พบในบริเวณที่คอนข้างชื้น อุณหภูมิ 30ºC ความชื้นสัมพัทธ์ 94% pH 7 ความเข้มแสง 142 Lux หลังฝนตก 2-3 วัน มีแดดออกอากาศร้อนอบอ้าว ในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน
การขยายพันธุ์ของเห็ดระโงก
ใช้ส่วนอื่นๆ/ขึ้นเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นกลุ่ม 4-5 ดอก กระจายอยู่ทั่วไปในป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง
วิธีการเพาะเห็ดระโงกหรือเห็ดไข่ห่าน
สำหรับวิธีการเพาะเห็ดระโงกหรือเห็ดไข่ห่านทำได้ง่ายๆ แต่ต้องใช้เวลาโดยให้นำดอกเห็ดระโงกที่แก่จัดแล้วมาขยี้ผสมน้ำ นำไปรดกับต้นกล้าต้นพืชในวงศ์ยางนา ได้แก่ ยางนา ตะเคียนทอง เต็ง รัง พลวง เหียง พะยอม กระบาก เป็นต้น หลังจากที่เรานำต้นพืชไปปลูกจนเจริญเติบโต ประมาณปีที่ 5 ขึ้นไป เห็ดก็จะเริ่มออกเห็ดจะออกประมาณ 4–5 ครั้ง โดยจะมีเยอะที่สุดในช่วงเดือนกรกฎาและสิงหาคม จริงๆ แล้วเห็ดเป็นเชื้อราชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในราที่มีชื่อว่า ไมคอร์ไรซ่า (Mycorrhiza) ซึ่งเห็ดป่าที่เราเห็นขายตามข้างทางเวลาไปเที่ยวต่างจังหวัดเกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเห็ดเผาะ เห็ดระโงกเหลือง เห็ดตะไค เห็ดน้ำหมากและอื่นๆ ก็จัดเป็น ไมคอร์ไรซา อาศัยอยู่ที่ส่วนปลายของรากฝอย ของพืชในวงศ์ยางนา
ไมคอร์ไรซ่าของเห็ดจะอาศัยกับต้นไม้ตามที่กล่าวมา แบบภาวะพึ่งพา โดยจะเกาะอยู่ที่ปลายรากฝอย คอยดูดน้ำ ธาตุอาหาร และป้องกันเชื้อโรคให้กับต้นไม้ ที่มันอาศัยอยู่ และตัวไมคอร์ไรซ่า ก็จะดูดอาหาร จากรากพืชอีกที และเมื่อ อุณหภูมิ ความชื้น ธาตุอาหารเหมาะสม ก็จะโผล่พ้นจากดิน กลายเป็นดอกเห็ด ตามที่เราเห็นนั้นเอง แต่เห็ดจะเปลี่ยนไปตามสภาพความสมบูรณ์ของป่า ยิ่งป่าสมบูรณ์ชนิดและจานวนของเห็ดก็จะมากขึ้น สาหรับการทาให้เกิดเห็ดระโงกนั้น ป่าควรมีเรือนยอดปกคลุม 70–50 % หรืออีกในหนึ่ง คือมีแสงส่องถึงพื้นดิน ประมาณ 30–50 % และมีเศษใบไม้ที่ย่อยสลายไม่หมดหนาไม่เกิน 2 เซนติเมตร พื้นสวนไม่มีวัชพืชหนาแน่น และที่สาคัญต้องไม่มีสารเคมีใดๆ รวมถึงการรบกวนพื้นสวน หลังจากฝนตกหนักๆ 2–3 วันและมีแดดส่องถึงพื้น อากาศอบอ้าว เห็ดก็จะเริ่มทยอยงอกจากดิน เป็นแถว ตามแนวรากของต้นไม้
นอกจากนี้ ยังมีอีกวิธีหนึ่งที่สามารถเพาะเห็ดระโงกและเห็ดป่าได้เช่นกัน คือนาดอกแก่ๆมาขยี้ แล้วนำไปฝังตามบริเวณรากของต้นไม้ตระกูลยางนาที่โตแล้วเมื่อเวลาผ่านไป อุณหภูมิ ความชื้น ธาตุอาหารเหมาะสม ก็จะโผล่พ้นจากดินกลายเป็นดอกเห็ดให้เราได้เก็บไปประกอบอาหารและจำหน่ายได้เหมือนกัน จะเห็นได้ว่าการเพาะเห็ดระโงกไม่ได้ยาก และยังได้ประโยชน์อีกอย่างหนึ่งคือเมื่อต้นไม้ที่โตแล้วสามารถนำมาใช้สอยหรือนาไปแปรรูปได้ โดยปัจจุบันเราสามารถปลูกป่าแล้วไปขึ้นทะเบียนกับกรมป่าไม้เป็นสวนป่า ทีนี้ ป่าไม้ที่เราปลูกเราก็สามารถตัดและนำไปแปรรูป หรือขายได้ราคาดีไม่น้อยเหมือนกัน เพราะต้นยางนาต้นที่โตๆ ราคาหลักหมื่นบาทต่อต้นเลยทีเดียว เป็นการปลูกป่าไว้หาเห็ด และเก็บออมเนื้อไม้ไว้ขายในอนาคตได้
ธาตุอาหารหลักที่เห็ดระโงกต้องการ
ประโยชน์ของเห็ดระโงก
เห็ดระโงกสามารถประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น แกงเห็ดระโงกใส่ใบมะขามอ่อน เห็ดระโงกนึ่งจิ้มแจ่ว เห็ดระโงกเผาไฟตาน้ำพริก หรือจะนำไปผัดน้ามันหอยก็ได้
สรรพคุณทางยาของเห็ดระโงก
คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดระโงก
การแปรรูปของเห็ดระโงก
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11906&SystemType=BEDO
http://www.yanglor.go.th
https://www.flickr.com