เห็ดนางฟ้า นิยมนำไปทำอาหารและมีสรรพคุณเป็นยาที่ช่วยในการป้องกันและรักษาโรคต่างๆ ได้อย่างดีเยี่ยม

ลักษณะของนางฟ้า

เห็ดนางฟ้ามีรูปร่างลักษณะคล้ายคลึงกับเห็ดนางรม เห็ดทั้งสองชนิดนี้จัดอยูู่ในวงศ์ (family) เดียวกันชื่อ “เห็ดนางฟ้า” เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นในเมืองไทย คนไทยบางคนเรียกว่าเห็ดแขก เนื่องจากมีผู้พบเห็นเห็ดนี้ครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย พบขึ้นตามธรรมชาติบนตอไม้เนื้ออ่อนที่กำลังผุในแถบเมืองแจมมู (Jammu) บริเวณเชงเขาหิมาลัย  ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Pleurotus sajor-caju (Fr.) Singer เห็ดนางฟ้าถูกนําไปเลี้ยงในอาหารวุ้นเป็นครั้งแรกโดย Jandaik ในปี ค.ศ. 1947 ต่อมา Rangaswami และNadu แห่ง Agricultural University, Coimbattore ในอินเดียเป็นผู้นำเชื้อบริสุทธิ์ของเห็ดนางฟ้าเข้ามาฝากไว้ที่ American Type Culture Collection (ATCC) ในอเมริกาเมื่อปี ค.ศ. 1975 ได้ทราบว่าประมาณปี ค.ศ.1977 ทางกองวิจัยโรคพืชกรมวิชาการเกษตรเป็นผู้นำเชื้อจาก ATCC เข้ามาประเทศไทยเพื่อทดลองเพาะดูปรากฏว่าสามารถเจริญได้ดี อีกสายพันธุ์หนึ่งเป็นเห็ดที่มีผู้นำเข้ามาจากประเทศภูฐานมาเผยแพร่แก่นักเพาะเห็ดไทยได้ มีการเรียกชื่อเห็ดนี้ว่า “เห็ดนางฟ้าภูฐาน” มีหลายสายพันธุ์ซึ่งชอบอุณหภูมิที่แตกต่างกันบางพันธุ์ออกได้ดี ในฤดูร้อนบางพันธุ์ออกได้ดีในฤดูหนาว เป็นที่นิยมมากเพาะเป็นการค้ากันมาก

ลักษณะของดอกเห็ดนางฟ้ามีลักษณะคล้ายกับดอกเห็ดเป๋าฮื้อและดอกเห็ดนางรม เมื่อเปรียบเทียบกับเห็ดเป๋าฮื้อดอกเห็ดนางฟ้าจะอ่อนกว่า และมีครีบอยู่ชิดกันมากกว่าเห็ดนางฟ้าสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นนานได้หลายวัน เช่นเดียวกับเห็ดเป๋าฮื้อเนื่องจากเห็ดชนิดนี้ไม่มีการย่อตัวเหมือนกับเห็ดนางรมด้านบนของดอกจะมี สีนวลๆถึงสีน้ำตาลอ่อนในอินเดียดอกเห็ดมีขนาดตั้งแต่ 5 – 14 เซนติเมตรและจะมีน้ำหนักอยู่ระหว่าง 30 – 120 กรัม เห็ดนางฟ้ามีรสอร่อย เวลานําไปปรุงอาหารจะมีกลิ่นชวนรับประทานเห็ดชนิดนี้สามารถนําไปตากแห้งเก็บไว้เป็นอาหารได้ เมื่อจะนําเห็ดมาปรุงอาหารก็นำไปแชน้ำเห็ดจะคืนรูปเดิมได้

เห็ดนางฟ้า
เห็ดนางฟ้า ดอกเห็ดสีขาวถึงสีน้ำตาลอ่อน

การขยายพันธุ์ของเห็ดนางฟ้า

การเพาะเห็ดนางฟ้ามีระบบการผลิตแยกชัดเจนได้เป็น 4 ขั้นตอนด้วยกันคือ
1)  การผลิตเชื้อวุ้น
2) การทำหัวเชื้อเห็ด
3) การผลิตเชื้อถุงหรือก้อนเชื้อ
4) การเพาะให้เกิดเป็นดอกเห็ดการลงทุนจะมากในขั้นตอนที่1 – 3 ส่วนขั้นที่  4 คือการผลิตดอกเห็ดจะทําขนาดเล็กใหญ่เท่าใดก็ได้ไม่ต้องลงทุนมากหรือจะดัดแปลงจากโรงเรือนอื่นๆ ที่มีอยู่แล้วและที่วางอยู่มาใชได้และในขั้นตอนนี้ ผู้ที่ต้องการเพาะจะทําครบทุกขั้นตอนเลยก็ได้หรืออาจจะทำเป็นบางขั้นตอน เช่นจะทําเฉพาะหัวเชื้อเห็ดโดยการนำก้อนเชื้อที่ทำสำเร็จรูปแล้วมาเปิดออกรดน้ำให้เกิดดอกเห็ดเลยก็ได้

วัสดุในการเพาะเห็ด

สวนมากจะใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพาราหรือขี้เลื่อยไม้เบญจพรรณหรือใชฟางข้าวก ็ได้ตามฟาร์มเห็ดทั่วไปแล้ว เพื่อความสะดวกในการหมักและผสมวัสดุ จึงนิยมใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพาราซึ่งเป็นขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อนและมีสารอาหารที่มีคุณค่าในการเพาะเห็ดมาก

การเพาะเห็ดนางฟ้า
การเพาะเห็ดนางฟ้า

ปัจจัยที่ผลต่อการเจริญของเห็ดนางฟ้า
จากการที่เห็ดนางฟ้าเป็นเห็ดในสกุลเดียวกับเห็ดนางรม ปัจจัยที่ควบคุมการเจริญเติบโต ของเห็ดนางฟ้าจึงคล้ายคลึงกัน กล่าวคือ

  1. อุณหภูมิ (Temperture) อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเป็นดอกเห็ดนางฟ้าประมาณ 25 องศาเซลเซียส เห็ดนางฟ้าจะไม่ ออกดอกที่อุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส และสูงกว่า 35 องศาสเซลเซียส และการให้ก้อนเชื้อได้รับ อุณหภูมิต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส ในระยะเวลาสั้น ๆ จะช่วยชักนำให้การออกดอกมากขึ้น การที่ก้อนเชื้อ ได้รับอุณหภูมิต่ำในช่วงเวลากลางคืนก็เพียงพอที่จะช่วงชักนำการออก ดอกของเห็ดได้ดีขึ้น
  2. ความชื้น (Humidity) เห็ดนางฟ้าเป็นเห็ดที่ต้องการสภาพความชื้นของอากาศค่อนข้างสูง สภาพของโรงเรือนควรมีความชื้น (Relative humidity) ไม่ต่ำกว่า 80 – 85 % เพราะสภาพความชื้นของอากาศมีความสำคัญต่อการพัฒนาของดอกเห็ดมาก
  3. ปริมาณธาตุอาหารในวัสดุเพาะ นับว่ามีความสำคัญต่อการเพิ่มผลผลิตเห็ดนางฟ้ามาก จาการทดลองเพิ่มปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรท (NH NO ) สามารถเพิ่มไนโตรเจนในดอกเห็ดได้ 5.3% และถ้าใช้ถั่ว alfalfa และถั่วเหลืองจะเพิ่มธาตุไนโตรเจน 5.46% และ 8.80%

ประโยชน์ของเห็ดนางฟ้า

เห็ดนางฟ้านั้น มีสรรพคุณเป็นยาที่ช่วยในการป้องกันและรักษาโรคต่างๆ ได้อย่างดีเยี่ยมหากได้กินเป็นประจำก็เชื่อว่าเห็ดนางฟ้าจะช่วยดูเเลสุขภาพของเราได้เป็นอย่าดี ซึ่งปัจจุบันก็มีวางขายอยู่ทั่วไป ราคาถูกด้วย และจะนำมาใช้และจะนำมาใช้ประกอบการอาหารก็ได้หลากหลาย อาทิ ต้มยำ ชุบแป้งทอด ผัดผัก และยำเห็ดนางฟ้า จึงถือเป็นทั้งอาหารและยาที่เราทุกคนไม่ควรพลาดจริงๆ

  1. มีวิตามินอยู่หลายชนิด เเต่วิตามินซีเป็นวิตามินที่มีสูงมาก ดังนั้นเห็ดนางฟ้าจึงมีส่วนช่วยในการป้องกันโรคหวัดหรืออาการเกี่ยวกับไข้หวัดได้ดี และช่วยป้องกันอาการเลือดออกตามไรฟันและโรคเหงือกได้ดีอีกด้วย

  2. มีประสิทธิภาพในการต่อต้านอนุมูลอิสระและต้านทานการเกิดโรคมะเร็ง เนื่องจากเห็ดนางฟ้าเป็นเเหล่งรวมของแร่ธาตุที่สำคัญต่อร่างกายอย่าง ซีลีเนียม และมีสารสำคัญชื่อว่า อัลฟากลูเเคนซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เซลล์ถูกทำลายจนกลายเป็นเนื้อร้ายได้เป็นอย่างดี

  3. มีสารอาหารอย่างโปรตีนสูงกว่าเนื้อสัตว์ จึงมีคุณสมบัติในการช่วยซ่อมเเซมส่วนที่สึกหรอต่างๆของร่างกาย แถมยังมีรสชาติคล้ายเนื้อสัตว์และไม่เหนียวด้วยทำให้เป็นผลดีต่อระบบย่อยอาหารไม่ต้องทำงานหนัก

  4.  ช่วยบำรุงหัวใจและส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ ทำให้หัวใจทำงานได้ดีขึ้น เนื่องจากในเห็ดนางฟ้าเป็นเเหล่งของโพเเทสเซียมด้วย ซึ่งมีส่วนช่วยในการเต้นของหัวใจเป็นปกติ ทำให้น้ำในร่างกายที่มีความสมดุล กล้ามเนื้อและะบบประสาทในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและการไหลเวียนของเลือดก็ดีตามไปด้วย

  5. มีคุณสมบัติในการสร้างเสริมและกระตุ้นการทำงานของภูมิคุ้มกันในร่างกายให้เเข็งเเรง ช่วยลดความความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหรืออาการเจ็บป่วยต่างๆ เเละป้องกันเชื้อโรคไม่ให้เข้ามาภายในร่างได้ง่าย

  6.  ทานเพื่อควบคุมน้ำหนักได้ เห็ดนางฟ้านั้นเหมาะกับกลุ่มคนที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก เพราะนอกจากจะมีโปรตีนสูงเเล้วยังอุดมไปด้วยเส้นใยอาหารอยู่มาก

  7.  ช่วยบำรุงระบบและเซลล์ประสาท ป้องกันการเกิดอาการของโรคอัลไซเมอร์ให้น้อยลง

เมนูเห็ดนางฟ้า
เมนูที่มีเห็ดนางฟ้าเป็นส่วนประกอบ

สรรพคุณทางยาของเห็ดนางฟ้า

ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง  ลดไขมันในเส้นเลือด

คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดนางฟ้า

เนื้อเห็ด 100 กรัม ให้พลังงาน 35 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย

  • โปรตีน 2.5 กรัม
  • ไขมัน 0.3 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต 5.7 กรัม
  • ไนอะซิน 2.5 มิลลิกรัม.

การแปรรูปของเห็ดนางฟ้า

การแปรรูปเห็ดนางฟ้า เช่น เห็ดนางฟ้าอบแห้ง เห็ดสวรรค์ เห็ดสมุนไพร ลูกชิ้น ข้าวเกรียบ แหนม เป็นต้น

เห็ดสมุนไพร
เห็ดนางฟ้าทอดสมุนไพร

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http ://www.servicelink.doae.go.th, https ://warning.acfs.go.th, http ://www.ptcn.ac.th
ภาพประกอบ : http ://blog.arda.or.th, http://www.okmd.or.th, https://www.flickr.com

2 Comments

Add a Comment