เอนอ้า
ชื่ออื่นๆ : ม่ายะ (ตราด); เอ็นอ้า (อุบลราชธานี) โคลงเคลงขน
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : โคลงเคลงยวน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Melastoma saigonense (Kuntze) Merr.
ชื่อวงศ์ : Melastomataceae
ลักษณะของเอนอ้า
โคลงเคลงเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง มีความสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นกลมมีกิ่งก้านสาขามาก เล็กเรียว ใบเป็นใบเดี่ยว รูปหอก ปลายใบแหลม มีเสว้นกลางใบ 3 เส้น มีขนสั้นๆปกคลุม หนา แข็งเล็กน้อย มีสีเขียวอมเหลือง ท้องใบสีอ่อน โคลงเคลง พบทั้งมมด 4 ชนิด คือ 1. เอ็นอ้าน้อย มีดอกสีชมพูมม่วง มีกลีบดอก 5 กลีบ เกสรสีเหลือง เกิดตามป่าดงดิบชื้น 2. เอ็นอ้าใหญ่ มีดอกสีชมพู มีกลีบดอก 4-5 กลีบ เกสรสีชมพู เกิดตามป่าดงดิบแล้ง บางทีเรียกว่าเอ้นอ้าแดง โสมแดง หรือยางแดง 3. เอ็นอ้าขาว มีกลีบดอกสีขาว เกิดตามป่าดงดิบชื้นเขาสูง 4. เอ็นอ้าเครือ มีลำต้นเรียวยาว ใบบาง ดอกและผล เหมือนเอ็นอ้าแดง ทั้งหมดมีดอกเป็นช่อออกที่ปลายยอด ผลเมล็ดกลมรูปถ้วย มีขนปกคลุม เมล็ดเล็กละเอียด หัวหรือโคนต้นเป็นกระเปราะ คล้ายโสมคน เนื้อแข็งผิวขาว เกิดตามที่ลุ่ม ที่ชื้น ตามป่าดงดิบแล้ง ป่าดิบเขา ป่ละเมาะทั่วไป ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

การขยายพันธุ์ของเอนอ้า
ใช้เมล็ด/-
ธาตุอาหารหลักที่เอนอ้าต้องการ
ประโยชน์ของเอนอ้า
ราก บำรุงธาตุ เจริญอาหาร บำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย ชูกำลัง บำรุงตับไต และดี ปรุงยารักษาและเพิ่มถูมิคุ้มกันโรค
สรรพคุณทางยาของเอนอ้า
เป็นยาขับเลือด รักษาอาการตามในปากและแก้ท้องร่วง รักษาฝี เกลื้อน
วิธีการปรุงยา :
ทั้ง 5 (ราก, ลำต้น, ใบ, ดอก, ผล) นำมาสับเป็นชิ้น ๆ ต้มเป็นยาหม้อดื่ม
ดอกและผลสุก เคี้ยวแล้วอมไว้แก้ตามในปาก
ใบ ตำทาโดยตรงไม่ต้องผสมอย่างอื่น รักษาฝี เกลื้อน
คุณค่าทางโภชนาการของเอนอ้า
การแปรรูปของเอนอ้า
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9235&SystemType=BEDO
https://km.dmcr.go.th/th/c_1/s_350/d_6407